วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

มัลติมีเดียกับการศึกษา

มัลติมีเดียกับการศึกษา
1 เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียน ตอบสนองต่อแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่า สามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้
2 สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก และสามารถทำสำเนาได้ง่าย
3 สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ ความต้องการ และความสะดวกของตนเอง สามารถสร้างสถานการณ์จำลอง จำลองประสบการณ์ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4 ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน (Authoring Tools) ที่ง่ายต่อการใช้งานทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
5 ผู้สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อสอนเนื้อหาใหม่ เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอสถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่างๆ ดังกล่าวนี้จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และรูปแบบการคิดหาคำตอบ
6 สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน เท่านั้น ผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่นๆ ตามเวลาที่ ตนเองต้องการ
7 เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้ ทุกระดับอายุ และความรู้ หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น
8 สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงเรียน หรือหน่วยงานแล้ว ความก้าวหน้าของระบบครือข่าย ยังช่วยส่งเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่นๆ

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

eDLTV และ eDL-square คืออะไร

- eDLTV และ eDL-square คืออะไร 
          “eDLTV” คือ “โครงการจัดทำเนื้อหา ระบบ e-Learning ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐” 
มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จัดทำสื่ออีดีแอลทีวี (Electronics Distance Learning Television: eDLTV) โดยนำวีดิทัศน์และเนื้อหาการสอน จากโรงเรียนวังไกลกังวลมาบรรจุไว้ในระบบอีเลิร์นนิง (e-learning) หรือ อีดีแอลสแควร์ (eDL-Square) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา และลดปัญหาของ “ครูตู้” หรือ สถานีโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

- จุดเด่นของ eDLTV คืออะไร 
•แก้ปัญหาขาดแคลนครู หรือ ครูไม่ตรงวิชาเอก
•ลดภาระครู เช่น สอนซ่อมเสริมให้นักเรียนสอบตก, สอนเสริมให้นักเรียน ร.ด.
•ครูจบใหม่ที่ไม่ชำนาญในบางเรื่อง สามารถศึกษาแนวทางการสอนของครูโรงเรียนวังไกลกังวลได้
•เป็นสื่อช่วยสอนให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น
•ช่วยให้นักเรียนเข้าใจ/เห็นภาพ การทดลองวิทยาศาสตร์แก่นักเรียนของโรงเรียนที่ไม่สามารถทำการทดลองได้
•การฝึกใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์
•เป็นสื่อช่วยสอนให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น
•ช่วยทบทวนบทเรียน เช่น นักเรียนตกฟิสิกส์มาก เพราะอ่อนคณิตศาสตร์ จึงให้นักเรียนที่อ่อนคณิตศาสตร์ เรียนใน eDLTV เพื่อทบทวนก่อน
•สามารถเลือกบางตอน ไปใช้เกริ่นนำ, สร้างความเข้าใจ, สรุปองค์ความรู้ได้
•สร้างความสนใจให้นักเรียนของโรงเรียนปลายทาง รู้สึกว่ามีเพื่อนจากที่อื่นนอกเหนือโรงเรียนตนเองการฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษ

- วิธีการใช้งาน e-Learning ของระบบ eDLTV มี่กี่รูปแบบ อะไรบ้าง 
รูปแบบ Off-line และ On-line ผ่านทางอินเทอร์เน็ต พัฒนาซอฟต์แวร์โมดุล สำหรับการเรียกใช้งาน
- eDLTV Server(On-Line)
- eDLTV togo(Off-line)


- ในปัจจุบัน eDLTV มีสื่อครอบคลุมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดบ้าง
ไทย คณิต วิทย์ อังกฤษ สังคม สุขพละ

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มิติใหม่แห่งการศึกษาไร้พรมแดน

มิติใหม่แห่งการศึกษาไร้พรมแดน
มิติใหม่แห่งการศึกษาไร้พรมแดน Asynchronous Learning คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง ที่กำหนดไว้ (Synchronous Learning) แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้ (Anywhere Anytime) เป็นการเรียนที่อาศัยวิธีการ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกันระหว่าง ผู้เรียน โดยใช้แหล่ง ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือเข้าถึงข้อมูลความรู้เหล่านั้น จากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียนเอง ซึ่ง Asynchronous Learning เป็นการใช้การสื่อสารระยะไกล (Telecommunication) เพื่อช่วยให้การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในระบบห้องเรียนหรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับผู้เรียนได้พบหน้ากัน (Face - to - Face Instruction)

วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเกิดนวัตกรรมการศึกษา หลักเกณฑ์ แนวทางในการสร้างนวัตกรรม

1. ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษามีอะไรบ้าง

1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) 
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) 
3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา 
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรการขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม 

2. หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรมประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม

1.  เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน 
2.  มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วน  ข้อมูลที่ใช้เข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อที่จะทำการเปลี่ยน แปลง 
3.  มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4.  ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน

3. แนวทางในการสร้างนวัตกรรมทำอย่างไร
ก่อนอื่นต้องศึกษารูปแบบ/องค์ประกอบของเอกสารประกอบการสอนก่อน ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านเขียนไว้แล้ว แต่โดยรวมสื่อประเภทนี้ควรจะต้องมี 
แบบทดสอบก่อนเรียน..เนื้อหา(เป็นเรื่องๆ)..แบบฝึก(แต่ละเรื่อง)..แบบทดสอบหลังเรียน  ส่วนที่นับว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องได้มาตรฐานตามหลักวิชาคือ แบบทดสอบมีคุณภาพ  เนื้อหาถูกต้องตามหลักวิชา  สื่อฯผ่านการทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพ