วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ดนตรีพื้นบ้านไทย

ดนตรีพื้นบ้านไทย
ประวัติดนตรีพื้นบ้านไทย
     ดนตรีพื้นบ้าน เป็นดนตรีที่อยู่คู่กับท้องถิ่นมานาน ต้นกำเนิดของดนตรีพื้นบ้านอาจมาจากความเชื่อเรื่องประเพณี วัฒนธรรม ที่ต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องดนตรีประกอบการทำพิธีต่าง ๆ นอกจากนี้ในบางท้องถิ่นอาจได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมทางดนตรีจากประเทศเพื่อนบ้าน มาปรับปรุงแก้ไขจนกลายเป็นดนตรีเฉพาะท้องถิ่นของตน และการที่ลักษณะดนตรีของแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน ทำให้เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นแตกต่างกันไปด้วยตามลักษณะของดนตรีพื้นบ้านในท้องถิ่นนั้น
            http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/212/837/original_asd.jpg?1352605918                        http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/212/838/original_bsd.jpg?1352605920 

          http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/212/839/original_csd.jpg?1352605917                         http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/212/840/original_dsd.jpg?1352605917
ตัวอย่าง เครื่องดนตรีพื้นบ้านของภาคต่าง ๆ
   นอกจากเครื่องดนตรีและรูปแบบวงดนตรีพื้นบ้าน ที่บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ทางดนตรีของแต่ละท้องถิ่นแล้ว บทเพลงพื้นบ้านก็สามารถบอกถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นได้เช่นกัน เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงประกอบการละเล่นของเด็ก เพลงที่ใช้ร้องโต้ตอบกัน เป็นต้น เพราะบทเพลงเหล่านี้ขับร้องด้วยภาษาท้องถิ่นนั้น ๆ




ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ
ประวัติความเป็นมาดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ
        ดนตรีพื้นบ้านเป็นดนตรีชาวบ้านสร้างสรรค์ขึ้นด้วนการร้องหรือบรรเลงโดยชาว บ้านและชาวบ้านด้วนกันเป็นผู้ฟัง ดนตรีพื้นบ้านมีลักษณะดังนี้
        1.เป็นดนตรีของชาวบ้าน ส่วนมากเกิดขึ้นและพัฒนาในสังคมเกษตรกรรม มีลักษณะที่ไม่มีระบบกฎเกณฑ์ชัดเจนตายตัว ประกอบกับใช้วิธีถ่ายทอดด้วนปากและการจดจำ จึงเป็นเหตุให้ไม่มีใครเอาใจใส่ศึกษาหรือจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานดังเช่น ดนตรีสากล
        2.เป็นดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แต่ละท้องถิ่นจะมีดนตรีที่มีสำเนียง ทำนอง และจังหวะลีลาของตนเอง ดนตรีพื้นบ้านส่วนใหญ่มีทำนองที่ประดิษฐ์ดัดแปลงมาจากทำนองของเสียงธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ซอของดนตรีภาคเหนือ คือ เพลงจะปุ มีทำนองอ่อนหวานตามสำเนียงพูดของคนไทยชาวเมืองจะปุในแคว้นสิบสองปันนาหรือ ซอล่องน่าน ของจังหวัดน่านมีทำนองเหมือนกระแสน้ำไหล
        มีข้อสังเกตว่า เครื่องดนตรีพื้นบ้านผลิตด้วยฝีมือช่างชาวบ้าน รูปแบบเครื่องดนตรี เครื่องดนตรีที่ทำเพื่อไว้ตีคนทุกคนไหนปะเทศไทยนะคับ
ลักษณะการบรรเลง
        ชาวบ้านล้านนาในอดีต มักนิยมใช้เวลาว่างในตอนกลางคืนให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะผู้หญิงสาว ภารกิจที่เป็นประโยชน์มักจะได้แก่ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อเตรียมไปเพาะปลูกในวันรุ่งขึ้น บางทีก็ ไซ้(เลือก)พืชผลทางการเกษตรที่ผลิตออกมาเพื่อจำหน่าย จึงกลายเป็นจุดศูนย์กลางและการดึงดูดความสนใจของหนุ่ม และกลายเป็นศูนย์รวมนักแอ่วสาวทั้งหลายและดนตรีคู่กายชายหนุ่มย่อมนำมาใช้ตามความถนัด สันนิฐานว่าคงมีการนัดหมายเพื่อให้มาบรรเลง แนวเดียวกัน จึงเป็นการพัฒนาการขั้นแรกของการผสมวงดนตรี กลุ่มนักแอ่วสาวตามลานบ้านประกอบด้วยเครื่องดนตรี เปี๊ยะ สะล้อ ซึง ขลุ่ย ปี่ กลองพื้นเมือง (กลองโป่งป้ง) จึงกลายเป็นดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือโดยปริยาย นิยมเรียกตามชนิดของเครื่องดนตรีที่นำมาผสมเป็นวงว่าวงสะล้อซอซึง
ลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้าน
        ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารและสื่อความหมายอย่างดียิ่งประเภทหนึ่ง รองลงมาจากภาษา ทุกท้องถิ่นทั่วโลกจึงมีดนตรีและภาษาเป็นของตนเอง หากเราได้มีโอกาสศึกษาอย่างถ่องแท้ จะทราบได้ว่า ทั้งภาษาและดนตรีมีแหล่งกำนิดจากที่เดียวกัน เมื่อแพร่หลายกว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้น จึงเริ่มเกิดความแตกต่างเป็นดนตรีเฉพาะถิ่นหรือภาษาถิ่น
        วงดนตรีพื้นเมืองและนักดนตรีพื้นเมืองแต่ละท้องถิ่นนั้น นิยมบรรเลงกันตามท้องถิ่น และยึดเป็น อาชีพรองยังคงเล่นดนตรีแบบดั่งเดิม ทำนองเพลง ระเบียบวินัย และวิธีการเล่น จึงไม่ตรงตามหลักสากล จุดบกพร่องเหล่านี้ถือเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่น่าศึกษา
แนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟู และมีวิธีการสืบทอดภูมิปัญญาสู่ชนรุ่นหลัง
              ดนตรีไทยพื้นบ้านภาคกลางและภาคเหนือ ต่างมีแนวทางการอนุรักษ์ในรูปแบบเดียวกันคือวิทยาลัยนาฏศิลป วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ ได้จัดทำเป็นหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ สำหรับภาคดนตรีไทย เปิดโอกาสให้นักเรียนที่สนใจเข้าศึกษาในระบบ
        แนวโน้มของการสูญหายไม่มีโอกาสเป็นไปได้ เนื่องจากวิทยาลัยนาฏศิลป วิทยาลัยนาฏ-ศิลปเชียงใหม่ ได้มีการผลิตบุคลากรทางด้านดนตรีทั้งสองชนิดอย่างต่อเนื่อง

เครื่องดนตรีไทยทางภาคเหนือ
สะล้อ
http://gotoknow.org/file/poomin/sa_lor.jpg
สะ ล้อหรือ ทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลงด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็นแหล่งกำเนิด เสียง  ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดและปิดหน้าด้วยไม้บาง ๆ มีช่องเสียงอยู่ด้านหลัง คันสะล้อทำด้วย ไม้สัก หรือ ไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ โดยปกติจะ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร ลูกบิดอยู่ด้านหน้านิยม ทำเป็นสองสาย แต่ที่ทำเป็นสามสายก็ มีสาย ทำด้วยลวด (เดิมใช้สายไหมฟั่น ) สะล้อมี 3 ขนาด คือ สะล้อเล็กสะล้อกลาง    และสะล้อใหญ่ 3 สาย
ซึง
http://gotoknow.org/file/poomin/sueng.jpg
              ซึง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่งใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง มีช่องเสียงอยู่ด้านหน้า กำหนดระดับเสียงด้วยนมเป็นระยะ ๆ ดีด ด้วยเขาสัตว์บาง ๆ มีสายทำด้วยโลหะ เช่น ลวดหรือทองเหลือง (เดิมใช้สายไหมฟั่น) 2 สาย  
ปี่
http://gotoknow.org/file/poomin/pi_north.jpg
                    ปี่ เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทำด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง ที่ปลายข้างหนึ่งฝังลิ้นโลหะไว้เวลาเป่าใช้ปากอม ลิ้นที่ปลายข้างนี้ อีกด้านหนึ่งเจาะรู บังคับเสียงเรียงกัน 6 รูใช้ปิดเปิดด้วยนิ้ว มือทั้ง 2 นิ้ว เพื่อให้เกิดทำนองเพลง มี 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่เรียก ปี่แม่ ขนาดรองลงมาเรียก ปี่กลาง และขนาดเล็กเรียก ปี่ก้อย นิยม บรรเลงประสมเป็นวงเรียก วงจุมปี่   หรือปี่จุม  หรือบรรเลงร่วมกับซึงและสะล้อ
ปี่แน
http://gotoknow.org/file/poomin/nae.jpg
               ปี่แน มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง  มีรูบังคับเสียง เช่นเดียวกับปี่ใน นิยมบรรเลงในวงประกอบกับฆ้อง กลอง ตะหลดปดและกลองแอว เช่น  ในเวลาประกอบการฟ้อน เป็นต้น มี 2 ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็กเรียก แนน้อย ขนาดใหญ่ เรียก แนหลวง
พิณเปี๊ยะ
http://gotoknow.org/file/poomin/pin_pia.jpg
             พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าวเวลาดีดเอา กะโหลกประกบติดไว้กับหน้าอก ขยับเปิด-ปิด เพื่อให้เกิดเสียงกังวานตามต้องการ สมัยก่อนหนุ่มชาว เหนือนิยมเล่นดีดคลอการขับร้องในขณะไป เกี้ยวสาวตามหมู่บ้านในยามค่ำคืน  ปัจจุบันมี ผู้เล่นได้น้อยมาก
กลองเต่งถิ้ง
http://gotoknow.org/file/poomin/gong_teng_thing.jpg           
 กลองเต่งถิ้ง เป็นกลองสองหน้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน เช่น ไม้ขนุน
หน้ากลองขึงด้วยหนังวัว มี ขาสำหรับใช้วางตัวกลอง ใช้ประสมกับเครื่องดนตรี อื่น ๆเพื่อเป็นเครื่องประกอบจังหวะ


ตะหลดปด
http://gotoknow.org/file/poomin/ta_lod_pod.jpg
              ตะหลดปด หรือมะหลดปด เป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ 100 เซนติเมตร  หน้ากลอง      ขึงด้วยหนัง โยงเร่งเสียงด้วยเชือกหนัง หน้าด้านกว้างขนาด 30 เซนติเมตร ด้านแคบ  ขนาด  20      เซนติเมตร หุ่นกลองทำ ด้วยไม้เนื้อแข็งหรือเนื้ออ่อน ตีด้วยไม้หุ้มนวม มีขี้จ่า (ข้าวสุกบดผสมขี้เถ้า)      ถ่วงหน้า
กลองตึ่งโนง
http://gotoknow.org/file/poomin/klong_tueng_non.jpg
             กลองตึ่งโนง เป็นกลอง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด 3-4 เมตรก็มี ใช้ตีเป็น อาณัติสัญญาณประจำวัด และใช้ในกระบวนแห่กระบวนฟ้อน ต่าง ๆ ประกอบกับตะหลดปด ปี่แนฉาบใหญ่ และฆ้องหุ่ย ใช้ตีด้วยไม้ เวลาเข้ากระบวน จะมีคนหาม
กลองสะบัดชัยโบราณ
http://gotoknow.org/file/poomin/klong_sabad_chai_boran.jpg
             กลองสะบัดชัยโบราณ เป็นกลองที่ มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้   ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ   สู้ให้ได้ชัยชนะทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี 3 ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร

ดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง
ประวัติความเป็นมาดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง
          ดนตรีพื้นบ้านภาคกลางประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภท ดีด สี ตี เป่า โดยเครื่องดีดได้แก่ จะเข้และจ้องหน่อง เครื่องสีได้แก่ ซอด้วงและซออู้ เครื่องตีได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทอง ระนาดทุ้มเล็ก ฆ้อง โหม่ง ฉิ่ง ฉาบและกรับ เครื่องเป่าได้แก่ ขลุ่ยและปี่ ลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง คือ วงปี่พาทย์ของภาคกลางจะมีการพัฒนาในลักษณะผสมผสานกับดนตรีหลวง โดยมีการพัฒนาจากดนตรีปี่และกลองเป็นหลักมาเป็นระนาดและฆ้องวงพร้อมทั้งเพิ่มเครื่องดนตรี มากขึ้นจนเป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ รวมทั้งยังมีการขับร้องที่คล้ายคลึงกับปี่พาทย์ของหลวง ซึ่งเป็นผลมาจากการถ่ายโยงทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมราษฎร์และหลวง
ซอสามสาย
http://www.silpathai.net/wp-content/uploads/2011/03/ซอสามสาย1docx.jpg
          ซอสามสาย เป็นซอ ที่มีรูปร่างงดงามที่สุด ซึ่งมีใช้ใน วงดนตรีไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1350) แล้ว ซอสามสายขึ้นเสียง ระหว่างสายเป็นคู่สี่ใช้บรรเลงในพระราชพิธี อันเนื่องด้วยองค์พระมหากษัตริย์ ภายหลังจึง บรรเลงประสมเป็นวงมโหรี
ซอด้วง
http://www.thaigoodview.com/files/u21068/s2.jpg
          ซอด้วง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง บรรเลงโดยการใช้คันชักสี กล่องเสียง ทำ ด้วยไม้เนื้อแข็ง ขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่อง เสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อ แข็ง ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีลูกบิดขึ้นสาย อยู่ตอนบน ซอด้วงใช้สายไหมฟั่นหรือสาย เอ็น มี 2 สาย ขนาดต่างกัน คันชักอยู่ระหว่าง สาย ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ซอด้วงมีเสียงแหลม ใช้ เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสาย
ซออู้
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4a/Saw_u.jpg/200px-Saw_u.jpg
          ซออู้ เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ขึ้นหน้าด้วยหนังวัว มีช่องเสียงอยู่ด้านตรง ข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตอนบนมี ลูกบิดสำหรับขึงสาย สายซอทำด้วยไหมฟั่น มีคันชักอยู่ระหว่างสาย ความยาวของคันซอ ประมาณ 60 เซนติเมตร คันชักประมาณ 50 เซนติมตร ซอ อู้มีเสียงทุ้มต่ำ บรรเลงคู่และสอดสลับกับ ซอด้วงในวงเครื่องสาย
จะเข้
http://student.lcct.ac.th/~51138018/picture/son.jpg
          จะเข้ เป็นเครื่องสาย ที่ใช้บรรเลงด้วยการดีด โดยปกติมีขนาดความ สูงประมาณ 20 เซนติเมตร และยาว 140 เซนติเมตร ตัว จะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ขุดเป็นโพรง มีสาย 3 สาย สายที่ 1-2 ทำด้วยไหมฟั่น สาย ที่ 3 ทำด้วยทองเหลือง วิธีการบรรเลงมือซ้าย จะทำหน้าที่กดสายให้เกิดเสียงสูง- ต่ำ ส่วนมือขวาจะดีดที่สายด้วยวัตถุที่ ทำจากงาสัตว์
ขลุ่ย
https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR7SBD7mqDCvryFCt9ipPBgwIAvuwJDfL-dFTTRMMtWK-vAKLu9
          ขลุ่ย ของไทยเป็นขลุ่ย ในตระกูลรีคอร์ดเดอร์ คือ มีที่บังคับแบ่งกระแส ลม ทำให้เกิดเสียงในตัวไม่ใช่ขลุ่ยผิว ตระกูลฟลุตแบบจีน ขลุ่ยไทยมีหลายขนาด ได้แก่ ขลุ่ยอู้ มีเสียงต่ำที่สุด ระดับกลาง คือ ขลุ่ย เพียงออ เสียงสูง ได้แก่ ขลุ่ยหลีบ และยังที่มี เสียงสูงกว่านี้คือ ขลุ่ยกรวดหรือขลุ่ยหลีบกรวด อีกด้วย ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและ วงมโหรี
ปี่
http://music_thai.igetweb.com/article/art_500193.jpg
        ปี่ เป็นเครื่องเป่าที่มีลิ้น ทำด้วยใบตาล เป็นเครื่องกำเนิดเสียง เป็นประเภทลิ้นคู่ (หรือ 4 ลิ้น) เช่นเดียวกับโอโบ ( Oboe) มีหลายชนิดคือ ปี่นอก ปี่ใน ปี่ กลาง ปี่มอญ ปี่ไทยที่เด่นที่สุด คือ ปี่ ในตระกูลปี่ใน ซึ่งมีรูปิดเปิดบังคับลม เพียง 6 รู แต่สามารถบรรเลงได้ถึง 22 เสียง และ สามารถเป่าเลียนเสียงคนพูดได้ชัดเจนอีกด้วย

ระนาดเอก
http://www.thaigoodview.com/files/u21068/img57.jpg
          ระนาดเอก เป็นระนาดเสียงแหลมสูง ประกอบ ด้วยลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ไผ่บงหรือไม้ เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน 21-22 ลูก ร้อยเข้า ด้วยกันเป็นผืนระนาด และแขวนหัวท้ายทั้ง 2 ไว้บนกล่องเสียงที่เรียกว่า รางระนาด ซึ่งมี รูปร่างคล้ายเรือ ระนาดเอกทำหน้าที่นำวง ดนตรีด้วยเทคนิคการบรรเลงที่ประณีตพิศดาร มักบรรเลง 2 แบบ คือ ตีด้วยไม้แข็ง เรียกว่า ปี่พาทย์ไม้แข็ง และตีด้วยไม้นวม เรียกปี่พาทย์ไม้นวม ระนาดเอกเรียงเสียงต่ำไปหาสูงจาก ซ้ายไปขวา และเทียบเสียงโดยวิธีใช้ชันโรงผสม ผงตะกั่วติดไว้ด้านล่างทั้งหัวและท้ายของ ลูกระนาด
ระนาดทุ้ม
http://www.landco-sportland.com/data/products/85SAMRNTU002.jpg
          ระนาดทุ้ม ทำด้วยไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็งมีผืนละ 18 ลูก มีรูป ร่างคล้ายระนาดเอกแต่เตี้ยกว่าและกว้างกว่าเล็ก น้อย ระนาดทุ้มใช้บรรเลงหยอกล้อกับระนาดเอก
ฆ้องวงใหญ่
http://www.bloggang.com/data/vinitsiri/picture/1280580899.jpg
          ฆ้องวงใหญ่ เป็นหลักของวงปี่ พาทย์ และวงมโหรีใช้บรรเลงทำนองหลัก มีลูกฆ้อง 16 ลูก ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ   ลูก ฆ้อง : เป็นส่วนกำเนิดเสียงทำด้วยโลหะผสม มี ลักษณะคล้ายถ้วยกลมๆ ใหญ่เล็กเรียงตามลำดับเสียง ต่ำสูง ด้านบนมีตุ่มนูนขึ้นมาใช้สำหรับ ตีและใต้ตุ่มอุดไว้ด้วยตะกั่วผสมชันโรง เพื่อ ถ่วงเสียงให้สูงต่ำตามต้องการเรือนฆ้อง : ทำด้วยหวายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว เศษ ขดเป็นวง และยึดไว้ด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงเป็นลวดลายคล้ายลูกกรง และมีไม้ไผ่ เหลาเป็นซี่ ๆ ค้ำยันให้ฆ้องคงตัวเป็น โครงสร้างอยู่ได้ การผูกลูกฆ้องแขวนเข้ากับ เรือนฆ้อง ผูกด้วยเชือกหนังโดยใช้เงื่อนพิเศษ

ฆ้องวงเล็ก
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgoYJUJLG-rzcStek1saXU5wX4Ck3EGBlX2i2kRw017nZfKRN6OuosP89ARx5_FDOu4vWGY0KzST2CtGFVu_IuUyQ_DHx6L8sxjfdMhHemUFYW4qJo7rb-tkuZ-y2GjRf6FBwJXfGtE98r9/s400/ฆ้องวงเล็ก.jpg
          ฆ้องวงเล็ก มีขนาดเล็กกว่า แต่ เสียงสูงกว่าฆ้องวงใหญ่มีวิธีตีเช่นเดียว กับฆ้องวงใหญ่ แต่ดำเนินทำนองเป็นทางเก็บหรือ ทางอื่นแล้วแต่กรณี บรรเลงทำนองแปรจากฆ้องวง ใหญ่ ฆ้องวงเล็กมี 18 ลูก
โทนรำมะนา
http://www.maceducation.com/e-knowledge/2344302120/02_files/140.jpg
          โทน มีรูปร่างคล้ายกลองยาวขนาดเล็ก ทำด้วยไม้ หรือดินเผา ขึงด้วยหนังดึงให้ตึงด้วยเชือก หนัง ตัวกลองยาวประมาณ 34 เซนติเมตร ตรงกลางคอด ด้านตรงข้ามหน้ากลองคล้ายทรงกระบอกปากบานแบบ ลำโพง ตรงเอวคอดประมาณ 12 เซนติเมตร ใช้ตีคู่ กับรำมะนา
รำมะนา : เป็นกลองทำด้วยไม้ขึง หนังหน้าเดียวมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 22 เซนติเมตร ใช้ในวงเครื่องสาย
กลองแขก
http://www.dontrithai108.com/images/1209480755/1213294531.jpg
          กลองแขก เป็น กลองที่ตีหน้าทับได้ทั้งในวงปี่พาทย์ มโหรีและบางกรณีวงเครื่องสายก็ได้ ตีด้วย มือทั้ง 2 หน้า คู่หนึ่งประกอบด้วยตัวผู้ ( เสียงสูง) และตัวเมีย (เสียงต่ำ)
กลองสองหน้า
http://myjtc.files.wordpress.com/2011/07/1294310961_011.jpg?w=371&h=260
          กลองสองหน้า เป็นชื่อของกลองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลองลูกหนึ่งในเปิงมางคอกขึง ด้วยหนังเลียดรอบตัว ใช้ในวงปี่พาทย์ หรือมโหรีบางกรณี
ดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน
         ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์มาตั้งแต่เกิด และยังดำเนินความสัมพันธ์กับชีวิตมาตลอด ดนตรีจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจนยากจะแยกออกจากกันได้ เพราะอาจจะถือได้ว่าศิลปดนตรีนั้นเป็นปัจจัยที่ห้าของมนุษย์ ที่สร้างดนตรีขึ้นเพื่อที่จะระบายความคิด ความรู้สึก หรือสร้างมโนภาพและประสบการณ์จริง ซิ่งอาจเป็นความสุขหรือความทุกข์ด้วยเหตุนี้จึงสร้างศิลปขึ้นมาเพื่อชีวิต ดนตรีจึงเป็นศิลปที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ดนตรีนั้นยังเกี่ยวข้องกับสังคมในแต่ละท้องถิ่นที่เรียกว่า ดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการถ่ายทอดสืบเนื่องกันมาของชาวบ้านที่ประกอบพิธีต่าง ๆ ดนตรีพื้นบ้านจึงมีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน ทั้งในด้านบันเทิงใจของคนในสังคม ให้ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน และในด้านการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ช่วงชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งจะสะท้อนความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลหรือกลุ่มชนในระยะเวลาต่าง ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มชนยังคงรักษาไว้และนิยมเล่นกันในปัจจุบันอย่างเช่น ดนตรีพื้นบ้านอีสาน
ความเป็นมาของดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน
         ดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน เป็นดนตรีประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประวัติความเป็นมานับพันปี และสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยยังดำรงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมพื้นบ้านไว้อย่างมั่นคง ในการศึกษาอาจสืบค้นจากการใช้คำว่า ดนตรีในวรรณกรรมพื้นบ้านได้บันทึกไว้เป็นหลักฐาน
     1. ประวัติการปรากฏคำว่า ดนตรีศัพท์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทยกลางและไทยอีสานในปัจจุบันนี้ เดิมเป็นคำภาษาสันสกฤต ตันตริหรือจากภาษาบาลีว่า ตุริยะหรือ มโหรีคำว่า ตันตริที่ปรากฏในวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานเขียนว่า นนตรีซึ่งก็คือ ดนตรีนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันดังนี้
          1.1 คำว่า นนตรีพบในวรรณกรรมพื้นบ้านอีส่านหลายเรื่อง ได้แก่ สินไช แตงอ่อน การะเกด ดังตัวอย่างดังนี้
               - บัดนี้จักกล่าวเถิงภูชัยท้าว เสวยราชเบ็งจาล ก่อนแหล้ว ฟังยินนนตรีประดับ กล่อมซอซุง
          1.2 คำว่า ตุริยะอาจเขียนในรูป ตุริยะ” “ตุริยา” “ตุริเยศหรือ ตุริยางค์เช่น
               - เมื่อนั้นภูบาลฮู้ มุนตรีขานชอบ ฟังยินตุริเยศย้าย กลองฆ้องเสพเสียง
          1.3 คำว่า มโหรีอาจมาจาก มโหรีที่เป็นชื่อปี่ หรือมาจากคำว่า โหรีซึ่งหมายถึงเพลงพื้น
เมืองชนิดหนึ่งของอินเดีย คำว่า มโหรีพบในวรรณคดีของอีสานดังนี้
              - มีทั้งมโหรีเหล้น ทังละเม็งฟ้อนม่ายสิงแกว่งเหลื้อม โขนเต้นใส่สาว (สิง = นางฟ้อน นางร้ำ)
จะเห็นได้ว่า คำว่า นนตรี” “ตุริยะและ มโหรีเป็นคำที่นิยมใช้ในวรรณคดีและหมายถึง ดนตรี ประเภทบรเลงโดยทั่วไป แต่ในปัจจุบันคำว่า ดนตรี หมายถึง ดนตรีของราชสำนักภาคกลางหรือดนครีไทยสากล ส่นดนตรีพื้นบ้านของชาวอีสานจะมีชื่อเรียกเป็นคำศัพท์เฉพาะเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น ลำ (ขับร้อง) กล่อม สวดมนต์ สู่ขวัญ เซิ้ง เว้าผญา หรือจ่ายผญา สวดสรภัญญะและอ่านหนังสือผูก เป็นต้น
            การที่จะสืบค้นประวัติความเป็นมาของดนตรีอีสานให้ได้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงนั้นทำ ได้ยาก เพราะไม่มีเอกสารใดที่บันทึกเรื่องราวทางดนตรีโดยเฉพาะ จะมีกล่าวถึงในวรรณคดีก็เป็นส่วนประกอบของท้องเรื่องเท่านั้นเอง และที่กล่าวถึงส่วนมากก็เป็นดนตรีในราชสำนัก โดยกล่าวถึงชื่อดนตรีต่าง ๆ เช่น แคน พิณ ซอ ไค้ (แคนของชาวเขา) ขลุ่ย กลอง ตะโพน พาทย์ (กลอง ระนาด ฆ้อง สไนง์ (ปี่เขาควาย) สวนไล (ชะไล-ปี่ใน) ปี่อ้อหรือปี่ห้อ เป็นต้น ส่วนการประสมวงนั้นที่เอยก็มีวงมโหรี ส่วนการประสมอย่างอื่นไม่กำหนดตายตัวแน่นอน เขัาใจว่าจะประสมตามใจชอบ แม้ในปัจจุบันการประสมวงของดนตรีอีสานก็ยังไม่มีมาตรฐานที่แน่ยอนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามดนตรีอีสานในปัจจุบันที่ยังคงปฏิบัติอยู่มีทั่งดนตรีประเภทบรรเลงและดนตรีประเภทขับร้อง

วิวัฒนาการของดนตรีพื้นบ้านอีสาน
         ดนตรีพื้นบ้านอีสาน เป็นศิลปวัฒนธรรมแขนงหนึ่งกำเนิดจากกลุ่มชนต่าง ๆ ในอดีตได้สร้างสมสืบทอดติดต่อกันมา เป็นเวลานานจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มชนซึ่งมีอยู่ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานของประเทศไทย ในสมัยโบราณอาจกล่าวได้ว่าภาคอีสานเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนชาวพื้นเมืองหลายกลุ่มชน ที่ได้อพยอปนเปกันกับชาวพื้นเมืองเดิม โดยการนำเอาศิลปวัฒนธรรมรวมทั้งการขับร้อง ดนตรี และการละเล่นต่าง ๆ ผสมผสานกันมาตั้งแต่สมัยล้านนาและล้านช้าง โดยยึดเอาแนวลำแม่น้ำโขงเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำ อันสำคัญจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ ดั้งนั้นบริเวณที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำโขง จึงเป็นแหล่งอารยธรรมดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองในสมัยนั้น แต่มีเทือกเาสูง เป็นแนวขอบกันระหว่างอาณาจักรล้านนา ล้านช้างกับอาณาจักรสยาม (ประเทศไทย) จึงทำให้ไม่สามารถติดต่อกันได้สะดวก ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ดนตรี และการละเล่นต่าง ๆ ของอาณาจักรสยามในภาคกลางกับภาคอีสานที่อยู่ในอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง จึงมีความแตกต่างกันจากสาเหตุพื้นที่ภูมิประเทศที่มีเทือกเขาขวางกั้น เป็นแนวระหว่างภาคกลางกับภาคอีสาน ส่วนภาคอีสานซึ่งมีหลายกลุ่มชน ศิลปวัฒนธรรม มีความแตกต่างกัน กลุ่มชนที่มีอิทธิพลเหนือกว่าย่อมนำวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้ว มาผสมผสานกับวัฒนธรรมของตนเอง เช่น ภาษาพื้นเมืองของภาคอีสานมีความแตกต่างกับของขอม หรือเขมร ได้ถ่ายทอดหลงเหลือไว้ในดินแดนแถบอีสานตอนล่าง ที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา ในด้านของดนตรี การขับร้องที่แตกต่างไปจากภาคกลางจึงอาจกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมดนตรีและการละเล่นในภาคอีสานมี 2 ลักษณะคือ การละเล่นดนตรีพื้นบ้านแบบไทยลาว และการละเล่นดนตรีพื้นบ้านแบบไทยเขมรดังต่อไปนี้
         1. วัฒนธรรมดนตรีกลุ่มอีสานเหนือ เป็นวัฒนธรรมดนตรีที่อยู่บริเวณที่ราบสูงมีภูเขาทางด้านใต้และทางด้านตะวันตกไปจรดกับลำน้ำโขงตอนเหนือ และทางตะวันออกทางเทือกเขาภูพานกั้นแบ่งบริเวณนี้ออกเป็นที่ราบตอนบนที่เรียกว่า แอ่งสกลนคร ได้แก่บริเวณ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนมหนองคาย อุดรธานี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย มุกดาหาร ยโสธร และอุบลราชธานี ส่วนภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยอีสานหรือภาษาลาว เพราะคนกลุ่มนี้สืบทอดวัฒนธรรมมาจากลุ่มแม่น้ำโขง โดยบรรพบุรุษได้อพยพมาจากดินแดนล้านช้าง ซึ่งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงข้ามมาตั้งถิ่นถานในภาคอีสานตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์กลุ่มชนส่วนใหญ่ในภาคอีสานนี้โดยทั่วไปเรียกว่ากลุ่มชนไทยลาว และยังมีกลุ่มชนบ้างส่วนอาศัยอยู่โดยทั่วไปได้แก่ ผู้ไท แสด ย้อ โล้ โย้ย ข่า เป็นต้น
         2. วัฒนธรรมดนตรีกลุ่มอีสานใต้ เป็นที่ราบดอนใต้เรียกว่า แอ่งโคราช ได้แก่จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ วัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้มีการสืบทอดวัฒนธรรม แบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 2 กลุ่มใหญ่คือ
            2.1 กลุ่มที่สืบทอดมาจากเขมร-ส่วยได้แก่ กลุ่มชนส่วนใหญ่ที่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ เป็นกลุ่มชนที่ได้รับการสืบทอดมาจากเขมร-ส่วยนี้จะพูดภาษาเขมรและภาษาส่วย
            2.2 กลุ่มวัฒนธรรมโคราช ได้แก่กลุ่มชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาและบางส่วนในบุรีรัมย์ ซึ่งจะพูดภาษาโคราช กล่าวโดยสรุป การศึกษาความเป็นมาของดนตรีพื้นบ้านจะต้องศึกษาถึงลักษณะพื้นที่ และภูมิประเทศเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวัฒนธรรมดนตรีกลุ่มชนต่าง ๆ ตลอดจนการผสมผสานกันทางวัฒนธรรมความคงอยู่ การเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ อาจเป็นการสืบทอดหรือถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง แล้วแต่กลุ่มชนใดที่มีความเจริญรุ่งเรืองกว่าย่อมรักษาเอกลักษณ์แบบฉบับเฉพาะตัวของกลุ่มชนตัวเองไว้ได้ กลุ่มใดที่มีความล้าหลังกว่าก็ต้องรับเอาวัฒนธรรมของกลุ่มที่มีอิทธิพลมาดัดแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมของตนเอง ดังนั้นจึงขอกล่าวโดยแบ่งออกเป็นอีสานเหนือและอีสานใต้เพื่อสะดวกแก่การทำความเข้าใจดังนี้


ดนตรีพื้นเมืองอีสาน
          ลักษณะดนตรีอีสาน
     ดนตรีที่นำมาใช้เป็นไปในรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
     1. บรรเลงประกอบหมอลำ คำว่า ลำหมายถึง ขับลำนำ หรือขับเป็นลีลาการร้องหรือการเล่าเรื่องที่ร้องกรองเป็นกาพย์หรือกลอนพื้นเมืองบรรเลงล้วน บางโอกาสดนตรีบรรเลงทำนองเพลงล้วน ๆ เพื่อเป็นนันทนาการแก่ผู้ฟัง เพลงที่ใช้บรรเลงก็เป็นทางประกอบหมอลำหรือทางอื่น ๆ ที่ใช้เป็นเพลงบรรเลงโดยเฉพาะ
     2. บรรเลงประกอบการฟ้อนรำ นาฎศิลป์พื้นเมืองอีสานที่เน้นการเคลื่อนไหวเท้าตามจังหวะ ส่วนอื่นๆ ของร่างกายก็เคลื่อนไหวแต่ไม่ค่อยพิธีพิถัน
     ดนตรีพื้นเมืองอีสานมีลักษณะเฉพาะตัวเอง มีความแตกต่างไปจากดนตรีพื้นเมืองอื่นๆ  องค์ประกอบที่สำคัญของอีสานมี 3 ประการ คือ
     1. จังหวะ จังหวะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก มีตั้งแต่ประเภทช้า ปานกลางและเร็ว จังหวะข้าใช้ในเพลงประเภทชวนฝัน เศร้า หรือตอนอารัมภบทของเพลงแทบทุกเพลง
     2. ทำนอง ซึ่งชาวบ้านเรียกทำนองว่า ลายและบ่อยครั้งใช้ลายแทนคำว่าเพลงทำนองเพลงพื้นเมืองของอีสานเหนือมีวิวัฒนการมาจากสำเนียงพูดของชาวอีสานเหนือโดยทั่วไป ทำนองของเพลงแต่ละเพลงแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
          2.1 ทำนองเกริ่น เป็นทำนองที่บรรเลงขึ้นต้นเหมือนกับอารัมภบทในการพูดหรือเขียน
          2.2 ทำนองหลัก คือทำนองที่เป็นหัวใจของเพลง ผู้ฟังที่คุ้นเคยกับเพลงพื้นเมืองสามารถบอกชื่อเพลง หรือทาง หรือลายได้จากทำนองหลักนี้เอง
          2.3 ทำนองย่อย คือทำนองที่ใช้สอดแทรกสลับกันกับทำนองหลัก เนื่องจากทำนองหลักสั้น การบรรเลงซ้ำกลับไปกลับมาติดต่อกันนาน ๆ ทำให้เพลงหมดความไพเราะ การสอดแทรกทำนองย่อยให้กลมกลืนกับทำนองหลักจึงมีความสำคัญมาก
     3. การประสานเสียง การประสานเสียงในวงดนตรีเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง ก่อนนั้นเป็นบรรเลงหรือร้องเป็นไปลักษณะทำนองเดี่ยว

เครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน
http://www.thaigoodview.com/files/u19117/huen.jpg
         หืน เป็นเครื่องดนตรีกึ่งดีดกึ่งเป่าอย่างหนึ่งมี ทั้งที่ทำด้วยไม้ไผ่และโลหะเซาะร่องตรง  กลางเป็นลิ้นในตัว เวลาเล่นประกบหืนเข้ากับ ปาก ดีดที่ปลายข้างหนึ่งด้วยนิ้วหัวแม่มือ หรือนิ้วชี้ อาศัยกระพุ้งปากเป็นกล่องเสียง  ทำให้ เกิดเสียงสูงต่ำตามขนาดของกระพุ้งปากที่ทำ สามารถดีดเป็นเสียงแท้คล้ายเสียงคนออกเสียงสระ เครื่องดนตรีนี้มีเล่นกันในพวกชนเผ่ามูเซอ  เรียกชื่อว่า เปี๊ยะเครื่องดนตรีชนิดนี้มิ ได้มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่มีใน ทุกส่วนของโลก เช่น  แถบมองโกเลีย ปาปัว นิวกินี อัฟริกา และยุโรป นับเป็น เครื่องดนตรีโบราณชิ้นหนึ่งที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง
http://www.pupaint.com/Instrument/vode%20โหวด%20อีสาน.jpg
         โหวด เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่ไม่มีลิ้น เกิดจากกระแสลมที่เป่าผ่านไม้รวกหรือไม้  เฮี้ย (ไม้กู่แคน) หรือไม้ไผ่ ด้านรู เปิดของตัวโหวดทำด้วยไม้รวกขนาดเล็ก สั้น ยาว (เรียงลำดับตามความสูงต่ำของเสียง) ติด  อยู่รอบกระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็นแกนกลาง ติดไว้ด้วยขี้สูด มีจำนวน 6-9 เลา ความ ยาวประมาณ 25 เซนติเมตร เวลาเป่าจะหมุนไปรอบๆ ตามเสียงที่ต้องการ
http://4.bp.blogspot.com/-SSSxdsY1oww/UG6mdXb1LnI/AAAAAAAAACo/5aNvFFAaT38/s1600/shop216.jpg
         โปงลาง   เป็นเครื่องดนตรีประเภทที่บรรเลง ทำนองด้วยการตีเพียงชนิดเดียวของภาคอีสาน  โดย บรรเลงร่วมกันกับแคน พิณและเครื่องประกอบจังหวะ หรือ บรรเลงเดี่ยว ตังโปงลางทำด้วยท่อนไม้แข็งขนาดต่างๆ กันเรียงตามลำดับเสียงร้อยด้วยเชือกเป็นลูกระนาด ปลายข้างเสียงสูงผูกแขวนไว้กับกิ่งไม้  และ ข้างเสียงต่ำปล่อยทอดเยื้องลงมาคล้องไว้กับ  หัวแม่เท้าของผู้บรรเลง หรือคล้องกับวัสดุ ปกติ  ผู้เล่นโปงลางรางหนึ่งมี 2 คน คือ คนบรรเลง ทำนองเพลงกับคนบรรเลงเสียงกระทบแบบคู่ประสาน ไม้ ที่ตีโปงลางทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นรูปคล้าย  ค้อนตีด้วยมือสองข้าง ข้างละอัน ขนาดของโปงลางไม่มีมาตรฐานแน่นอน
http://tminstrument.files.wordpress.com/2012/03/001.jpg?w=275&h=169
         กระจับปี่      เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด โดยใช้กระที่ทำจากเขาสัตว์ กล่องเสียงทำ ด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก  ส่วนปลายสุดมีรู 2 รู ใช้ใส่ลูกบิดและร้อยสาย เมื่อบรรเลง จะตั้งขนานกับลำตัว  มือขวาจับกระสำหรับดีด มือซ้ายกดที่สายเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง
http://thongchai-samsee.myreadyweb.com/storage/5/20957/images/product/content/0fd/0fd4fa8a47ec557c40cbbd0273d5083b/content_32465_1140271242.JPG
         กลองกันตรึมเป็นเครื่องหนังชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ขุดกลวง ขึงหน้าด้านหนึ่งด้วยหนังดึงให้ตึงด้วยเชือก  ใช้ดีประกอบจังหวะในวงกันตรึม
http://www.oocities.org/thailandplay/images/klum.jpg
         กรับคู่    เป็นกรับทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเหมือนกับกรับเสภาของภาคกลาง แต่ขนาดเล็กกว่าใช้  ประกอบจังหวะดนตรีใน วงกันตรึม กรับคู่ชุดหนึ่งมี 2 คู่ ใช้ขยับ 2 มือ
http://www.dontrithai108.com/images/1210068318/1213284917.jpg
         แคน เป็น  เครื่องดนตรีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของ ชาวภาคอีสานเหนือ และอีสานภาคกลางไม่รวมอีสาน ใต้ที่มีอิทธิพลเขมร ได้แก่  “แคนแคนเป็นเครื่องดนตรีสมบูรณ์แบบที่สุด  ที่มีประวัติ ความเป็นมาย้อนหลังไปหลายพันปี แคนทำ ด้วยไม้ซาง มีลิ้นโลหะ เช่นดีบุก เงิน  หรือทองแดง บางๆ ประกอบไว้ในส่วนที่ประกอบอยู่ในเต้าแคน  แคนมีหลายขนาด เช่น แคน 7 แคน 9 ข้าง ๆ เต้าแคน ด้านบนมีรูปิดเปิดบังคับเสียง เวลา เป่า  เป่า ที่เต้าแคนด้านหน้า ใช้มือทั้งสอง ประกอบจับเต้าแคนในลักษณะเฉียงเล็กน้อย แคนเป็น เครื่องดนตรีที่บรรเลงได้ทั้งทำนองเพลงประสานเสียง  และให้จังหวะในตัวเอง จึงมีลีลาการบรรเลง ที่วิจิตรพิสดารมาก ระบบเสียงของแคน เป็นทั้งระบบ  ไดอะโทนิค และเพนตะโทนิค มีขั้น คู่เสียงที่เล่นได้ทั้งแบบตะวันตกและแบบ  ไทยรวมทั้งคู่เสียงระดับเดียวกันอีกด้วย
http://www.thaigoodview.com/files/u19117/jakae_northeast.jpg
         จะเข้กระบือ   เป็นเครื่องดนตรีสำคัญชิ้นหนึ่งในวงมโหรีเขมร เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดในแนวนอน มี 3 สาย สมัยก่อนสายทำจากเส้นไหมฟั่น ปัจจุบันทำจาก สายเบรคจักรยาน  การบรรเลงจะใช้มือซ้ายกด สายบนเสียงที่ต้องการ ส่วนมือขวาใช้สำหรับดีด


ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้
ความเป็นมาของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้
                    ชนในกลุ่มของภาคใต้ของไทย มีหลายเผ่าพันธุ์และมีหลายกลุ่ม ในอดีตมีการติดต่อค้าขาย มีความสัมพันธ์กับอินเดีย จีน ชวา - มลายู ตลอดจนติดต่อกับคนไทยในภาคกลาง ที่เดินทางไปค้าขายติดต่อกันด้วย ในชนบทความเจริญยังเข้าไปไม่ถึง ลักษณะของ ดนตรีพื้นบ้าน จึงเป็นลักษณะเรียบง่าย ประดิษฐ์อย่างง่าย ๆ จากวัสดุใกล้ตัวมีการรักษาเอกลักษณ์ และยอมให้มีการพัฒนาได้น้อยมาก ดนตรีพื้นบ้านดั้งเดิม น่าจะมาจากเผ่าพันธุ์ เงาะซาไก ประเภทเครื่องตี โดยใช้ไม้ไผ่ลำขนาดต่าง ๆ กัน ตัดออกเป็นท่อน สั้นบ้างยาวบ้าง ตัดปากของกระบอกไม้ไผ่ ตรงหรือเฉียง บ้างก็หุ้มด้วยใบไม้ กาบของต้นพืช ใช้บรรเลง (ตี) ประกอบการขับร้องและเต้นรำ เครื่องดนตรี ค่อย ๆ พัฒนามาเป็นแตร กรับ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีมาแต่เดิมทั้งสิ้น
         ในระยะต่อมาหลังจากมีการติดต่อ การค้าขายกับอินเดียและจีน การถ่ายโยงวัฒนธรรมย่อมเกิดขึ้น สังเกตได้อย่างชัดเจนจาก ทับ (กลอง) ที่ใช้ประกอบการเล่นโนรา มีร่องรอยอิทธิพลของอินเดียอย่างชัดเจน และการมีอาณาเขตติดต่อกับชวา - มลายู ภาษาและวัฒนธรรมทางดนตรี จึงถูกถ่ายโยงกันมาด้วย เช่น แถบจังหวัดภาคใต้ที่ติดเขตแดน อาจกล่าวได้ว่าดนตรีพื้นบ้าน ของภาคใต้มีอิทธิพลแบบชวา มลายูก็ยังไม่ผิด เช่น รำมะนา (กลองหน้าเดียว)
         ในช่วงสมัยกรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสินมหาราช) เมืองนครศรีธรรมราช มีความสัมพันธ์กับภาคกลางอย่างแนบแน่น และเป็นศูนย์กลางความเจริญ ทางศิลปวัฒนธรรมด้านการแสดง และดนตรี จนมีชื่อว่าเมืองละคอนในสมัยกรุงธนบุรีพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดให้นำละครจากเมืองนครศรีธรรมราช ไปฝึกละครให้นักแสดงในสมัยนั้น จึงเป็นการถ่ายโยงวัฒนธรรม ด้านดนตรีกลับไปสู่ เมืองนครศรีธรรมราชด้วย เช่น ปี่นอก ซออู้ และซอด้วง

ความสำคัญของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้
ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ไดัรับใช้สังคมของชาวใต้ พอสรุปได้ดังนี้

         1. บรรเลงเพื่อความรื่นเริง คลายความเหน็ดเหนื่อย จากการทำงาน ซึ่งจะบรรเลงควบคู่กันไป กับการละเล่นและการแสดงเสมอ เพราะดนตรีพื้นบ้านภาคใต้นั้น จะไม่นิยมบรรเลงล้วน ๆ เพื่อฟังโดยตรง แต่จะนิยมบรรเลงประกอบการแสดง
         2. บรรเลงประกอบพิธีกรรม เพื่อบวงสรวง หรือติดต่อกับสิ่งลี้ลับ เพราะในอดีตสังคมส่วนใหญ่ ติดอยู่กับความเชื่อเรื่องผี วิญญาณ เช่น มะตือรี ของชาวไทยมุสสลิม โต๊ะครึม ของชาวไทยพุทธ ที่ใช้เพื่อบรรเลงในงานศพ โดยมีความเชื่อว่าเป็นการนำวิญญาณสู่สุคติ การบรรเลงกาหลอ ในงานศพบทเพลงส่วนหนึ่ง เป็นการบรรเลงเพื่ออ้อนวอนเทพเจ้า ดนตรีชนิดนี้จึงมุ่งให้เห็นความศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพให้เกิดความขลัง ยำเกรง
         3. ใช้บรรเลงเพื่อการสื่อสาร บอกข่าว เช่น การประโคมปืด และประโคมโพน เป็นสัญญาณบอกข่าวว่าที่วัดมีการทำเรือพระ (ในเทศกาลชักพระ) จะได้เตรียมข้าวของไว้ทำบุญ และไปช่วยตกแต่งเรือพระ หรือการได้ยินเสียงบรรเลงกาหลอ ก้องไปตามสายลมก็บอกให้รู้ว่ามีงานศพ ชาวบ้านก็จะไปช่วยทำบุญงานศพกันที่วัดนั้น ๆ โดยจะสืบถามว่าเป็นใคร ก็จะไปเคารพศพ โดยไม่ต้องพิมพ์บัตรเชิญ เหมือนปัจจุบันนี้
         4. ใช้บรรเลงเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ เช่น การบรรเลงกรือโต๊ะ หรือบานอโดยชาวบ้าน จะช่วยกันสร้างดนตรีชนิดนี้ขึ้นมา ประจำหมู่บ้านของตน และจะใช้ตีแข่งขันกับหมู่บ้านอื่น ๆ เพื่อเป็นการสนุกสนาน และแสดงพลังความสามัคคี เพราะขณะที่จะมีการประกวดจะต้องช่วยกันทำ ถ้าแพ้ก็ถือว่าเป็นการปราชัยของคนทั้งหมู่บ้าน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของการแข่งขัน ในโอกาสต่อไปก็จะต้องช่วยกันทำใหม่ ให้ดีกว่าเก่า

เครื่องดนตรีพื้นบ้านของภาคใต้
   1. ประเภทดีด ในภาคใต้ไม่มีเครื่องดนตรีประเภทนี้ จะมีแต่ของพวกเงาะซาไก ที่ใช้ไม้ไผ่ 1 ปล้องมากรีดเอาผิวของไม้ไผ่ให้ เป็นริ้ว ๆ ทำหมอนรองริ้วผิวไม้ไผ่หลาย ๆ ริ้ว แล้วใช้นิ้วดีดหากพบการบรรเลงด้วยจะเข้ หรือพิณ เป็นเครื่องดนตรีของภาคอื่น ที่เข้าไปในระยะหลัง ซึ่งไม่นับเป็นดนตรีพื้นบ้าน ของภาคใต้
    2. ประเภทตี ของภาคใต้มีหลายชนิด ได้แก่
               2.1 ทับ เป็นกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็งเอวคอดปากบาน ท้ายเรียวบานออกเล็กน้อย ขึงด้วยหนังสัตว์หน้าเดียว ขึงหนังด้วยหวายรัดดึงให้ตึง มีหลายขนาดตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง ด้านหน้า 5 นิ้ว ใช้บรรเลงประกอบ การแสดงหนังตะลุง เรียกว่า ทับหนัง ขนาด 8 นิ้ว
             2.2 โหม่ง คือ ฆ้องคู่ทำด้วยโลหะ ใบเล็ก 1 ใบ ใบใหญ่ 1 ใบ ประกอบอยู่ในกล่องไม้ให้เกิดเสียงก้อง เวลาบรรเลงมีไม้ตีหุ้มยางหรือผ้า ไม่ให้เสียงแตกและมีไม้เนื้อแข็ง 4 เหลี่ยม 1 อัน เอาไว้สัมผัสกับหน้าโหม่งให้หยุดเสียง ใช้บรรเลงประกอบการเล่นหนังตะลุง โนรา และลิเกป่า แต่เดิมใช้ไม้ทำโหม่ง เรียกว่า โหม่งฟาก ต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นหล่อด้วยเหล็ก และทองเหลือง มาโดยลำดับ เรียกว่า โหม่งเหล็กและโหม่งหล่อ
               2.3 กลอง มี 2 ลักษณะคือ หุ้มหรือขึงด้วยหนังสัตว์หน้าเดียว และสองหน้า
               2.4 เครื่องตีที่ทำด้วยไม้ล้วน ๆ และเครื่องประกอบจังหวะ
3. ประเภทเป่า ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ ประเภทเครื่องเป่ามีดังนี้
                     3.1 ปี่ต้น นิยมใช้บรรเลงประกอบ การแสดงในโนราสมัยโบราณ (ปัจจุบันไม่นิยม)
                     3.2 ปี่กลาง หรือเรียกว่า ปี่หนังตะลุงปี่โนรา ใช้ประกอบการ แสดงหนังตะลุงและโนราใน ปัจจุบันลักษณะตัวปี่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เจาะรูยาวตลอด ตัวปี่มีรูสำหรับปิดเปิดเสียง ประกอบด้วยลิ้นปี่
                   3.3 ปี่ห้อ หรือปี่ฮ้อ ใช้บรรเลงในวงดนตรีกาหลอ หรือเรียกว่า ปี่กาหลอ
4. ประเภทสี ได้แก่
                  4.1 ซอด้วง ชาวภาคใต้บางกลุ่ม เรียกซออี้ ใช้บรรเลงประกอบ การแสดงโนราและหนังตะลุง ลักษณะเหมือนซอด้วง ของภาคกลาง แต่กะโหลกซอ จะใหญ่กว่าของภาคกลาง มี 2 สายเช่นเดียวกัน
                 4.2 ซออู้ ใช้ประกอบการแสดง โนราและหนังตะลุง ลักษณะเหมือนซออู้ภาคกลาง มี 2 สาย เวลาบรรเลงจะเป็นตัว ช่วยทำให้เสียงอื่นที่แหลมลดลง เป็นการประสานเสียงที่ดี
4.3 ซอฆือปะ เหมือนซอสามสาย ของภาคกลางใช้บรรเลง ประกอบการเล่นมะโย่ง มะตือรีและโนราแขก
ลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้
1. เครื่องดนตรีพื้นบ้านของภาคใต้ ส่วนใหญ่ และดั้งเดิม จะเป็นเครื่องตี และที่จัดได้ว่าเป็นเครื่องสำคัญ คือทับ รำมะนา กลอง และโหม่ง รองลงมาคือ เครื่องเป่า เครื่องสี เครื่องดีด เกือบจะไม่มีบทบาทเลย
2. ผู้บรรเลงผู้เล่น จะเป็นแต่ชายล้วน เพราะถือว่าการเล่นดนตรีเพื่อพิธีกรรม ถ้าหญิงเล่นจะคลายความศักดิ์สิทธิ์ไป และเครื่องดนตรีบางอย่างต้องใช้แรงมาก
3. วัตถุประสงค์ในการเล่นที่สำคัญ คือ เพื่อประกอบพิธีกรรม รองลงมาคือเพื่อความรื่นเริง



เครื่องดนตรีภาคใต้
                                                http://student.nu.ac.th/jatupong/images/s5.jpg
แตระ
หรือ แกระ คือ กรับ มี ทั้งกรับอันเดียวที่ใช้ตีกระทบกับรางโหม่ง หรือกรับคู่ และมีที่ร้อยเป็นพวงอย่างกรับพวง หรือใช้เรียวไม้หรือลวด เหล็กหลาย ๆ อันมัดเข้าด้วยกันตีให้ปลายกระทบกัน
ฉิ่ง หล่อด้วยโลหะหนารูปฝาชีมีรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก สำรับนึงมี 2 อัน เรียกว่า 1 คู่เป็นเครื่องตีเสริมแต่งและเน้นจังหวะ ซึ่งการตีจะแตกต่างกับการตีฉิ่ง ในการกำกับจังหวะของดนตรีไทย
http://www.sksrt.ac.th/webschool/webnora/images/dress/100_2714.JPG
ทับ (โทนหรือทับโนรา) เป็นคู่ เสียงต่างกันเล็กน้อย ใช้คนตีเพียงคนเดียว เป็นเครื่องตีที่สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ คุมจังหวะและเป็นตัวนำในการเปลี่ยนจังหวะทำนอง (แต่จะต้องเปลี่ยนตามผู้รำ ไม่ใช่ผู้รำ เปลี่ยน จังหวะลีลาตามดนตรี ผู้ทำหน้าที่ตีทับจึงต้องนั่งให้มอง เห็นผู้รำตลอดเวลา และต้องรู้เชิง ของผู้รำ)
http://www.kanchanapisek.or.th/kp8/nora/klong.jpg
กลอง เป็นกลองทัดขนาดเล็ก (โตกว่ากลองของหนังตะลุงเล็กน้อย) 1 ใบทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและล้อเสียงทับ
http://www.kanchanapisek.or.th/kp8/nora/mong.jpg

โหม่ง คือ ฆ้องคู่ เสียงต่างกันที่เสียงแหลม เรียกว่า เสียงโหม้งที่เสียงทุ้ม เรียกว่า เสียงหมุ่งหรือ บางครั้งอาจจะเรียกว่าลูกเอกและลูก ทุ้มซึ่งมีเสียงแตกต่างกันเป็น คู่แปดแต่ดั้งเดิมแล้วจะใช้คู่ห้า

1 ความคิดเห็น: