ดนตรีไทย
ประวัติความเป็นมาดนตรี
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แล้ว
นับตั้งแต่นั้นมาจึงปรากฎหลักฐานด้านดนตรีไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษรทั้งในหลักศิลาจารึก
หนังสือวรรณคดี และเอกสารทางประวัติศาสตร์ในแต่ละยุค
ซึ่งสามารถนำมาเป็นหลักฐานในการพิจารณาถึงความเจริญและวิวัฒนาการของดนตรีไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา จนกระทั่งเป็นแบบแผนดังปรากฏในปัจจุบัน ซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
สมัยกรุงสุโขทัย
ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำและร้องเล่นกันอย่างพื้นเมือง
เครื่องดนตรีไทยในสมัยนี้ได้ปรากฎหลักฐานกล่าวถึงไว้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงซึ่งเป็นหนังสือวรรณคดีที่แต่งในสมัยนี้ ได้แก่ แตร สังข์ มโหระทึก ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง
บัณเฑาะว์ พิณ ซอพุงตอ (สันนิษฐานว่าคือซอสามสาย) ปี่ไฉน ระฆัง และกังสดาล เป็นต้น
ลักษณะการผสมวงดนตรีก็ปรากฏหลักฐานทั้งในศิลาจารึก และหนังสือไตรภูมิพระร่วง
กล่าวถึง “เสียงพาทย์ เสียงพิณ” ซึ่งจากหลักฐานที่กล่าวนี้
สันนิษฐานว่าวงดนตรีไทยในสมัยสุโขทัยมีลักษณะดังนี้คือ
1. วงบรรเลงพิณ มีผู้บรรเลง 1 คน ทำหน้าที่ดีดพิณและขับร้องไปด้วย ซึ่งเป็นลักษณะของการขับลำนำ
2. วงขับไม้ ประกอบไปด้วยผู้บรรเลง 3 คน คือผู้ขับลำนำ ผู้บรรเลงซอสามสาย และผู้ไกวบัณเฑาะว์ ให้จังหวะ
3. วงปี่พาทย์ เป็นลักษณะของวงปี่พาทย์เครื่องห้า มี 2 ชนิด คือวงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา ประกอบด้วยเครื่องดนตรีชนิดเล็กๆจำนวน 5 ชิ้น คือ ปี่ กลองชาตรี ทับ (โทน) ฆ้องคู่ และฉิ่ง ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรี (เป็นละครที่เก่าแก่ที่สุดของไทย) และวงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก ประกอบด้วยเครื่องดนตรีจำนวน 5 ชิ้น คือ ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่งซึ่งใช้บรรเลงประโคมในงานพิธีและประกอบการแสดงมหรสพต่างๆ จะเห็นได้ว่าวงปี่พาทย์เครื่องห้าในสมัยนี้ยังไม่มีระนาดเอก
4. วงมโหรี เป็นการนำเอาวงบรรเลงพิณกับวงขับไม้มาผสมกัน เป็นลักษณะของวงมโหรีเครื่องสี่ ประกอบไปด้วยผู้บรรเลง 4 คน คือ คนขับลำนำและตีกรับพวงให้จังหวะ คนสีซอสามสายคลอเสียงร้อง คนดีดพิณ และ คนตีทับ (โทน) ควบคุมจังหวะ
1. วงบรรเลงพิณ มีผู้บรรเลง 1 คน ทำหน้าที่ดีดพิณและขับร้องไปด้วย ซึ่งเป็นลักษณะของการขับลำนำ
2. วงขับไม้ ประกอบไปด้วยผู้บรรเลง 3 คน คือผู้ขับลำนำ ผู้บรรเลงซอสามสาย และผู้ไกวบัณเฑาะว์ ให้จังหวะ
3. วงปี่พาทย์ เป็นลักษณะของวงปี่พาทย์เครื่องห้า มี 2 ชนิด คือวงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา ประกอบด้วยเครื่องดนตรีชนิดเล็กๆจำนวน 5 ชิ้น คือ ปี่ กลองชาตรี ทับ (โทน) ฆ้องคู่ และฉิ่ง ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรี (เป็นละครที่เก่าแก่ที่สุดของไทย) และวงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก ประกอบด้วยเครื่องดนตรีจำนวน 5 ชิ้น คือ ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่งซึ่งใช้บรรเลงประโคมในงานพิธีและประกอบการแสดงมหรสพต่างๆ จะเห็นได้ว่าวงปี่พาทย์เครื่องห้าในสมัยนี้ยังไม่มีระนาดเอก
4. วงมโหรี เป็นการนำเอาวงบรรเลงพิณกับวงขับไม้มาผสมกัน เป็นลักษณะของวงมโหรีเครื่องสี่ ประกอบไปด้วยผู้บรรเลง 4 คน คือ คนขับลำนำและตีกรับพวงให้จังหวะ คนสีซอสามสายคลอเสียงร้อง คนดีดพิณ และ คนตีทับ (โทน) ควบคุมจังหวะ
ลักษณะของวงดนตรีไทยในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นจากในสมัยสุโขทัยดังต่อไปนี้คือ
1. วงปี่พาทย์
ยังคงเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้าเช่นเดียวกันกับในสมัยสุโขทัยแต่มีระนาดเอกเพิ่มเขึ้น
วงปี่พาทย์เครื่องห้าในสมัยนี้ประกอบไปด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด-ตะโพน และฉิ่ง
2. วงมโหรี พัฒนามาจากวงมโหรีเครื่องสี่ในสมัยสุโขทัยเป็นวงมโหรีเครื่องหก ซึ่งได้เพิ่มเครื่องดนตรีเข้าไปอีก 2 ชนิดคือ ขลุ่ย และรำมะนา วงมโหรีในสมัยนี้ประกอบไปด้วย ซอสามสาย กระจับปี่ (ใช้แทนพิณ) ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง
2. วงมโหรี พัฒนามาจากวงมโหรีเครื่องสี่ในสมัยสุโขทัยเป็นวงมโหรีเครื่องหก ซึ่งได้เพิ่มเครื่องดนตรีเข้าไปอีก 2 ชนิดคือ ขลุ่ย และรำมะนา วงมโหรีในสมัยนี้ประกอบไปด้วย ซอสามสาย กระจับปี่ (ใช้แทนพิณ) ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง
สมัยกรุงธนบุรี
เนื่องจากในสมัยนี้มีระยะเวลาสั้นเพียง 15 ปี
ประกอบกับเป็นช่วงเวลาของการป้องกันประเทศและฟื้นฟูบ้านเมือง
วงดนตรีไทยในสมัยนี้จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่าได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงขึ้นแต่อย่างใด
สันนิษฐานว่ายังคงมีลักษณะและรูปแบบเช่นเดียวกันกับดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยนี้บ้านเมืองได้ผ่านพ้นจากภาวะศึกสงครามและได้มีการก่อสร้างเมืองให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น
เกิดความสงบร่มเย็นโดยทั่วไปแล้ว
ศิลปวัฒนธรรมของชาติก็ได้รับการฟื้นฟูทะนุบำรุงและส่งเสริมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น
โดยเฉพาะทางด้านดนตรีไทยในสมัยนี้ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเจริญขึ้นเป็นลำดับดังต่อไปนี้
คือ
สมัยรัชกาลที่ 1 ดนตรีไทยส่วนใหญ่ยังคงมีลักษณะและรูปแบบตามที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
แต่ได้มีการเพิ่มกลองทัดขึ้นอีก 1 ลูกในวงปี่พาทย์
จึงทำให้วงปี่พาทย์มีกลองทัด 2 ลูกคือ เสียงสูง (ตัวผู้) และเสียงต่ำ (ตัวเมีย)
และเป็นที่นิยมสืบต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน
สมัยรัชกาลที่ 2 อาจกล่าวได้ว่าในสมัยนี้เป็นยุคทองของดนตรีไทยยุคหนึ่ง
ทั้งนี้เพราะองค์พระมหากษัตริย์ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอย่างยิ่ง
พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถทางดนตรีไทยคือ ทรงซอสามสายได้อย่างดี
โดยมีซอคู่พระหัตถ์ชื่อว่า “ซอสายฟ้าฟาด” นอกจากนี้พระองค์ยังได้พระราชนิพนธ์เพลงไทยขึ้นเพลงหนึ่ง
ซึ่งเป็นเพลงที่ไพเราะและอมตะมาจนทุกวันนี้คือ เพลง “บุหลันลอยเลื่อน”
สมัยรัชกาลที่ 3 วงปี่พาทย์ได้พัฒนาขึ้นเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่
เพราะได้มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มมาคู่กับระนาดเอก และประดิษฐ์ฆ้องวงเล็กมาคู่ฆ้องวงใหญ่
สมัยรัชกาลที่ 4 วงปี่พาทย์ได้พัฒนาขึ้นเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
เพราะได้มีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก 2 ชนิดเลียนแบบระนาดเอกและระนาดทุ้ม
โดยใช้โลหะทำลูกระนาด และทำรางระนาดให้แตกต่างไปจากรางระนาดเอกและระนาดทุ้ม (ไม้ ) เรียกว่าระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก
โดยนำมาบรรเลงเพิ่มในวงปี่พาทย์เครื่องคู่ ทำให้ขนาดของวงปี่พาทย์ขยายใหญ่ขึ้น
จึงเรียกว่าวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
อนึ่งในสมัยนี้ดนตรีไทยนิยมการร้องเพลงส่งให้ดนตรีรับหรือที่เรียกว่าการร้องส่งกันมาก
จนกระทั่งการขับเสภาซึ่งเคยนิยมกันมาแต่ก่อนค่อยๆหายไป
และการร้องส่งก็เป็นแนวทางให้มีผู้คิดแต่งขยายเพลงอัตราจังหวะ 2 ชั้นให้เป็นเพลงอัตราจังหวะ 3 ชั้น
และลดลงเป็นอัตราจังหวะชั้นเดียว จนกระทั่งกลายเป็นเพลงเถาในที่สุด (นับได้ว่ามีเพลงเถาเกิดขึ้นมากมายในสมัยนี้) นอกจากนี้วงเครื่องสายก็เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลนี้เช่นกัน
สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นใหม่ชนิดหนึ่งซึ่งต่อมาเรียก
“วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์” โดยสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
สำหรับใช้บรรเลงประกอบการแสดง “ละครดึกดำบรรพ์” ซึ่งเป็นละครที่เพิ่มปรับปรุงขึ้นในสมัยรัชกาลนี้เช่นกัน หลักการปรับปรุงของท่านก็โดยการตัดเครื่องดนตรีชนิดเสียงเล็กแหลมหรือดังเกินไปออก
คงไว้แต่เครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวล
กับเพิ่มเครื่องดนตรีบางอย่างเข้ามาใหม่
เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์จึงประกอบด้วยระนาดเอก ฆ้อง วงใหญ่ ระนาดทุ้ม
ระนาดทุ้มเหล็ก ขลุ่ย ซออู้ ฆ้องหุ่ย (ฆ้อง 7 ใบ) ตะโพน กลอง ตะโพน และเครื่องกำกับจังหวะ
สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง
โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำวงดนตรีของมอญมาผสมกับวงปี่พาทย์ของไทย ภายหลังเรียกวงดนตรีผสมนี้ว่า
“วงปี่พาทย์มอญ” วงปี่พาทย์มอญดังกล่าวนี้มีทั้งวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า
เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ เช่นเดียวกันกับวงปี่พาทย์ของไทย
และกลายเป็นที่นิยมบรรเลงประโคมในงานศพมาจนกระทั่งในปัจจุบัน
นอกจากนี้ยังได้มีการนำเครื่องดนตรีของต่างชาติเข้ามาบรรเลงผสมกับวงดนตรีไทยอีกด้วย
และเครื่องดนตรีต่างชาติบางชนิดก็ได้นำมาดัดแปลงเป็นเครื่องดนตรีไทย
ทำให้รูปแบบของวงดนตรีไทยเปลี่ยนแปลงพัฒนาไป ได้แก่
1. การนำเครื่องดนตรีของชวาหรืออินโดนีเซีย คือ “อังกะลุง” มาเผยแพร่ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ทั้งนี้ได้นำมาดัดแปลงปรับปรุงขึ้นใหม่ให้มีเสียงครบ 7 เสียง (เดิมมี 5 เสียง) และปรับปรุงวิธีการเล่นโดยให้ผู้เล่นเขย่าคนละ 2 เสียง ทำให้เครื่องดนตรีชนิดนี้กลายเป็นเครื่องดนตรีไทยอีกอย่างหนึ่ง เพราะคนไทยสามารถทำอังกะลุงได้เอง อีกทั้งวิธีการบรรเลงก็เป็นแบบเฉพาะของเราซึ่งแตกต่างไปจากของชวาโดยสิ้นเชิง
2. การนำเครื่องดนตรีของต่างชาติเข้ามาบรรเลงผสมในวงเครื่องสาย ได้แก่ ขิมของจีนและออร์แกนของฝรั่ง ทำให้วงเครื่องสายพัฒนารูปแบบของวงไปอีกลักษณะหนึ่งเรียกว่า “วงเครื่องสายผสม”
สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสนพระทัยทางด้านดนตรีไทยมากเช่นกัน พระองค์ได้พระราชนิพนธ์เพลงไทยที่ไพเราะไว้ถึง 3 เพลง คือ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง 3 ชั้น เพลงเขมรลออองค์ (เถา) และเพลงราตรีระดับดาว (เถา) พระองค์และพระราชินีได้โปรดให้ครูดนตรีเข้าไปถวายการสอนดนตรีในวัง ต่อมาภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ดนตรีไทยเริ่ม ซบเซาลง อาจกล่าวได้ว่าเป็นสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่ดนตรีไทยเกือบจะถึงจุดจบเนื่องจากรัฐบาลในสมัยหนึ่งมีนโยบายที่เรียกว่า “รัฐนิยม” ซึ่งนโยบายนี้มีผลกระทบต่อดนตรีไทยด้วย กล่าวคือ มีการห้ามบรรเลงดนตรีไทย เพราะเห็นว่าไม่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ ใครจะจัดให้มีการบรรเลงดนตรีไทยต้องขออนุญาตจากทางราชการก่อน อีกทั้งนักดนตรีไทยก็จะต้องมีบัตรนักดนตรีที่ทางราชการออกให้ จนกระทั่งต่อมาอีกหลายปีเมื่อได้มีการสั่งยกเลิก “รัฐนิยม” ดังกล่าวเสีย แต่ถึงกระนั้นก็ตามดนตรีไทยก็ไม่รุ่งเรืองเท่าแต่ก่อน ยังล้มลุกคลุกคลานมาจนกระทั่งบัดนี้เนื่องจากวิถีชีวิตและสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม วัฒนธรรมทางดนตรีของต่างชาติได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยเป็นอันมาก ดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังและได้เห็นกันทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือที่บรรเลงตามงานต่าง ๆ โดยมากก็เป็นดนตรีของต่างชาติ หาใช่ “เสียงพาทย์ เสียงพิณ” ดังแต่ก่อนไม่ ถึงแม้วาจะเป็นที่น่ายินดีที่เราได้มีโอกาสฟังดนตรีนานาชาตินานาชนิด แต่ถ้าดนตรีไทยถูกทอดทิ้งและไม่มีใครรู้จักคุณค่า ก็นับว่าเสียดายที่จะต้องสูญเสียสิ่งที่ดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่งไป ดังนั้นจึงควรที่คนไทยทุกคนจะได้ตระหนักถึงคุณค่าของดนตรีไทย และช่วยกันทะนุบำรุงส่งเสริมและรักษาไว้ เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมชองชาติสืบต่อไป
1. การนำเครื่องดนตรีของชวาหรืออินโดนีเซีย คือ “อังกะลุง” มาเผยแพร่ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ทั้งนี้ได้นำมาดัดแปลงปรับปรุงขึ้นใหม่ให้มีเสียงครบ 7 เสียง (เดิมมี 5 เสียง) และปรับปรุงวิธีการเล่นโดยให้ผู้เล่นเขย่าคนละ 2 เสียง ทำให้เครื่องดนตรีชนิดนี้กลายเป็นเครื่องดนตรีไทยอีกอย่างหนึ่ง เพราะคนไทยสามารถทำอังกะลุงได้เอง อีกทั้งวิธีการบรรเลงก็เป็นแบบเฉพาะของเราซึ่งแตกต่างไปจากของชวาโดยสิ้นเชิง
2. การนำเครื่องดนตรีของต่างชาติเข้ามาบรรเลงผสมในวงเครื่องสาย ได้แก่ ขิมของจีนและออร์แกนของฝรั่ง ทำให้วงเครื่องสายพัฒนารูปแบบของวงไปอีกลักษณะหนึ่งเรียกว่า “วงเครื่องสายผสม”
สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสนพระทัยทางด้านดนตรีไทยมากเช่นกัน พระองค์ได้พระราชนิพนธ์เพลงไทยที่ไพเราะไว้ถึง 3 เพลง คือ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง 3 ชั้น เพลงเขมรลออองค์ (เถา) และเพลงราตรีระดับดาว (เถา) พระองค์และพระราชินีได้โปรดให้ครูดนตรีเข้าไปถวายการสอนดนตรีในวัง ต่อมาภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ดนตรีไทยเริ่ม ซบเซาลง อาจกล่าวได้ว่าเป็นสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่ดนตรีไทยเกือบจะถึงจุดจบเนื่องจากรัฐบาลในสมัยหนึ่งมีนโยบายที่เรียกว่า “รัฐนิยม” ซึ่งนโยบายนี้มีผลกระทบต่อดนตรีไทยด้วย กล่าวคือ มีการห้ามบรรเลงดนตรีไทย เพราะเห็นว่าไม่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ ใครจะจัดให้มีการบรรเลงดนตรีไทยต้องขออนุญาตจากทางราชการก่อน อีกทั้งนักดนตรีไทยก็จะต้องมีบัตรนักดนตรีที่ทางราชการออกให้ จนกระทั่งต่อมาอีกหลายปีเมื่อได้มีการสั่งยกเลิก “รัฐนิยม” ดังกล่าวเสีย แต่ถึงกระนั้นก็ตามดนตรีไทยก็ไม่รุ่งเรืองเท่าแต่ก่อน ยังล้มลุกคลุกคลานมาจนกระทั่งบัดนี้เนื่องจากวิถีชีวิตและสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม วัฒนธรรมทางดนตรีของต่างชาติได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยเป็นอันมาก ดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังและได้เห็นกันทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือที่บรรเลงตามงานต่าง ๆ โดยมากก็เป็นดนตรีของต่างชาติ หาใช่ “เสียงพาทย์ เสียงพิณ” ดังแต่ก่อนไม่ ถึงแม้วาจะเป็นที่น่ายินดีที่เราได้มีโอกาสฟังดนตรีนานาชาตินานาชนิด แต่ถ้าดนตรีไทยถูกทอดทิ้งและไม่มีใครรู้จักคุณค่า ก็นับว่าเสียดายที่จะต้องสูญเสียสิ่งที่ดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่งไป ดังนั้นจึงควรที่คนไทยทุกคนจะได้ตระหนักถึงคุณค่าของดนตรีไทย และช่วยกันทะนุบำรุงส่งเสริมและรักษาไว้ เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมชองชาติสืบต่อไป
การแบ่งแยกประเภทของเครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีไทยที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีมากมายหลายชนิดซึ่งสามารถนำมาจัดหมวดหมู่และจำแนกประเภทตามวิธีการบรรเลงได้
4 ประเภท คือ เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า
v เครื่องดีด
ได้แก่ พิณน้ำเต้า พิณเพียะ กระจับปี่ ซึง จะเข้
และอื่นๆ ได้แก่ จิ้งหน่องหรือจ้องหน่อง
v เครื่องสี
ได้แก่ ซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง สะล้อ (เครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคเหนือ)
v เครื่องตี
สามารถแบ่งออกได้เป็น เครื่องตีที่ทำจากไม้
เครื่องตีที่ทำจากโลหะ และเครื่องตีที่ขึงด้วยหนังสัตว์
v เครื่องเป่า
สามารถแบ่งออกได้เป็น เครื่องเป่าจำพวกขลุ่ย ปี่ แคนและโหวด แตร และสังข์
ประเภทของบทเพลง
เพลงไทยจำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เพลงบรรเลง
และเพลงขับร้อง ซึ่งแต่ละประเภทสามารถจำแนกย่อยออกไปหลายรูปแบบดังต่อไปนี้
v เพลงบรรเลง
หมายถึง บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อสำหรับการบรรเลงดนตรีโดยเฉพาะ
ได้แก่ เพลงโหมโรง เพลงหน้าพาทย์ เพลงเดี่ยว เพลงเรื่อง เพลงหางเครื่อง เพลงภาษา
v เพลงโหมโรง
หมายถึง เพลงที่ใช้บรรเลงเป็นอันดับแรกก่อนที่จะมีการแสดงมหรสพต่างๆ
หรือก่อนที่จะมีการร้องส่งเพลงอื่นๆต่อไป เพื่อเป็นการประกาศให้ทราบว่าการแสดงมหรสพหรือการร้องส่งกำลังจะเริ่มแล้ว
นอกจากนี้ยังเป็นเพลงที่บรรเลงประโคมในงานพิธีมงคลต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล
การบรรเลงเพลงโหมโรงมีความมุ่งหมายดังนี้
1. เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อครูดนตรีไทย ด้วยการระลึกถึงพระคุณและขอพรจากกาน เพื่อความเป็นสิริมงคลและเกิดกำลังใจในอันที่จะบรรเลงหรือร้องเล่นต่อไป
2. เพื่อเป็นการอัญเชิญเทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้มาร่วมในงานพิธีที่จัดขึ้น และนำความเป็นสิริมงคลให้เกิดแก่งานพิธีนั้น ๆ
3. เพื่อเป็นการอุ่นเครื่องให้กับนักดนตรีให้มีความพร้อมที่จะบรรเลงต่อไป
4. เพื่อเป็นการทดสอบหรือปรับแต่งเครื่องดนตรีให้มีความพร้อมที่จะใช้บรรเลงต่อไป
5. เพื่อเป็นการช่วยเทียบเสียงให้กับนักร้อง ซึ่งจะได้สามารถขึ้นเสียงและขับร้องได้ตรงกับระดับเสียงของดนตรี
เพลงโหมโรงมี 2 ชนิด คือ
1. เพลงโหมโรงที่เป็นเพลงชุด คือเพลงที่ครูบาอาจารย์ได้นำเพลงหนาพาทย์หลายๆ เพลงมาเรียบเรียงไว้และบรรเลงต่อเนื่องกัน เพลงแต่ละเพลงมีความมุ่งหมายเพื่ออัญเชิญเทพยดาต่างๆ เพลงโหมโรงชนิดนี้เป็นเพลงโหมโรงสำหรับวงปี่พาทย์เท่านั้น ใช้บรรเลงในงานพิธีมงคลและบรรเลงก่อนการแสดงมหรสพต่างๆ เช่น โขน ละคร หนังใหญ่ และลิเก เพลงโหมที่จัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่ โหมโรงเช้า โหมโรงกลางวัน และโหมโรงเย็น
2. เพลงโหมโรงที่เป็นเพลงๆเดียวหรืออาจเป็น 2 เพลงต่อเนื่องกัน เรียกว่าโหมโรงเสภาหรือโหมโรงวา เหตุที่เรียกว่าโหมโรงเสภาก็เนื่องมาจากในสมัยก่อนเป็นเพลงที่ใช้บรรเลงก่อนที่จะมีการเล่นเสภาหรือการร้องส่ง แต่เดิมการโหมโรงก่อนการเล่นเสภาจะใช้เพลงชุดเช่นกัน ภายหลังจึงได้ตัดทอนเหลือแค่เพลงวา ซึ่งเป็นเพลงบรรเลงต่อจากเพลงชุดโหมโรง สาเหตุที่เรียกว่าโหมโรงวานั้นเพราะว่าเป็นเพลงโหมโรงที่ประพันธ์ขึ้นตามแบบอย่างของเพลงวา โดยนำทำนองท่อนจบของเพลงวามาใช้ เพลงโหมโรงเสภาหรือโหมโรงวาเป็นเพลงโหมโรงสำหรับวงดนตรีไทยทุกประเภท ซึ่งได้มีผู้ประพันธ์ไว้เป็นจำนวนมาก
1. เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อครูดนตรีไทย ด้วยการระลึกถึงพระคุณและขอพรจากกาน เพื่อความเป็นสิริมงคลและเกิดกำลังใจในอันที่จะบรรเลงหรือร้องเล่นต่อไป
2. เพื่อเป็นการอัญเชิญเทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้มาร่วมในงานพิธีที่จัดขึ้น และนำความเป็นสิริมงคลให้เกิดแก่งานพิธีนั้น ๆ
3. เพื่อเป็นการอุ่นเครื่องให้กับนักดนตรีให้มีความพร้อมที่จะบรรเลงต่อไป
4. เพื่อเป็นการทดสอบหรือปรับแต่งเครื่องดนตรีให้มีความพร้อมที่จะใช้บรรเลงต่อไป
5. เพื่อเป็นการช่วยเทียบเสียงให้กับนักร้อง ซึ่งจะได้สามารถขึ้นเสียงและขับร้องได้ตรงกับระดับเสียงของดนตรี
เพลงโหมโรงมี 2 ชนิด คือ
1. เพลงโหมโรงที่เป็นเพลงชุด คือเพลงที่ครูบาอาจารย์ได้นำเพลงหนาพาทย์หลายๆ เพลงมาเรียบเรียงไว้และบรรเลงต่อเนื่องกัน เพลงแต่ละเพลงมีความมุ่งหมายเพื่ออัญเชิญเทพยดาต่างๆ เพลงโหมโรงชนิดนี้เป็นเพลงโหมโรงสำหรับวงปี่พาทย์เท่านั้น ใช้บรรเลงในงานพิธีมงคลและบรรเลงก่อนการแสดงมหรสพต่างๆ เช่น โขน ละคร หนังใหญ่ และลิเก เพลงโหมที่จัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่ โหมโรงเช้า โหมโรงกลางวัน และโหมโรงเย็น
2. เพลงโหมโรงที่เป็นเพลงๆเดียวหรืออาจเป็น 2 เพลงต่อเนื่องกัน เรียกว่าโหมโรงเสภาหรือโหมโรงวา เหตุที่เรียกว่าโหมโรงเสภาก็เนื่องมาจากในสมัยก่อนเป็นเพลงที่ใช้บรรเลงก่อนที่จะมีการเล่นเสภาหรือการร้องส่ง แต่เดิมการโหมโรงก่อนการเล่นเสภาจะใช้เพลงชุดเช่นกัน ภายหลังจึงได้ตัดทอนเหลือแค่เพลงวา ซึ่งเป็นเพลงบรรเลงต่อจากเพลงชุดโหมโรง สาเหตุที่เรียกว่าโหมโรงวานั้นเพราะว่าเป็นเพลงโหมโรงที่ประพันธ์ขึ้นตามแบบอย่างของเพลงวา โดยนำทำนองท่อนจบของเพลงวามาใช้ เพลงโหมโรงเสภาหรือโหมโรงวาเป็นเพลงโหมโรงสำหรับวงดนตรีไทยทุกประเภท ซึ่งได้มีผู้ประพันธ์ไว้เป็นจำนวนมาก
v เพลงหน้าพาทย์
คือ
เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยาอารมณ์ของตัวละครในการแสดงต่างๆ
และใช้บรรเลงประกอบพิธีไหว้ครู ครอบครูดนตรีและนาฏศิลป์ เพลงหน้าพาทย์แบ่งออกเป็น 2
ระดับคือ
1. หน้าพาทย์ธรรมดา
ใช้บรรเลงประกอบกิริยา อารมณ์ของตัวละครในการแสดง ต่างๆ
และใช้บรรเลงประกอบพิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์
2. หน้าพาทย์ชั้นสูง ใช้บรรเลงประกอบกิริยา อารมณ์ของตัวละครผู้สูงศักดิ์หรือเทพยดาต่างๆ เพลงหน้าพาทย์ชนิดนี้โดยมากใช้กับการแสดงโขน ละคร และใช้ในพิธีไหว้ครู ครอบครูดนตรีและนาฎศิลป์เช่นกัน เพลงหน้าพาทย์ประเภทนี้ได้แก่ เพลงตระนอน เพลงกระบองกัน เพลงตระบรรทมสินธุ์ เพลงบาทสกุณี เพลงองค์พระพิราพ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงองค์พระพิราพถือกันว่าเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงสุดในบรรดาเพลงหน้าพาทย์ทั้งหมด
2. หน้าพาทย์ชั้นสูง ใช้บรรเลงประกอบกิริยา อารมณ์ของตัวละครผู้สูงศักดิ์หรือเทพยดาต่างๆ เพลงหน้าพาทย์ชนิดนี้โดยมากใช้กับการแสดงโขน ละคร และใช้ในพิธีไหว้ครู ครอบครูดนตรีและนาฎศิลป์เช่นกัน เพลงหน้าพาทย์ประเภทนี้ได้แก่ เพลงตระนอน เพลงกระบองกัน เพลงตระบรรทมสินธุ์ เพลงบาทสกุณี เพลงองค์พระพิราพ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงองค์พระพิราพถือกันว่าเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงสุดในบรรดาเพลงหน้าพาทย์ทั้งหมด
v เพลงเดี่ยว
คือ เพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่บรรเลงทำนองเพียงชิ้นใดชิ้นหนึ่งโดยเฉพาะ
ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ จะเข้ ขิม ขลุ่ย ปี่ และซอต่าง ๆ
โดยมีเครื่องประกอบจังหวะบรรเลงประกอบ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ กลองแขก สองหน้า
หรือโทนรำมะนาเพลงที่ใช้ในการบรรเลงเพลงเดี่ยวอาจเป็นเพลงเถา เพลงเกร็ด หรือเพลงหน้าพาทย์
ฯลฯ
ในการบรรเลงเพลงเดี่ยวนั้น จะบรรเลงตลอดทั้งเพลงหรือแทรกอยู่ในตอนใดตอนหนึ่งของเพลงก็ได้ การบรรเลงเดี่ยวมีความมุ่งหมายอยู่ 2 ประการคือ
1. เพื่อแสดงถึงความสามารถและฝีมือของผู้บรรเลง
2. เพื่อเป็นการอวดทาง คือ ทำนองของเพลงว่าดี คม ไพเราะ เหมาะสม ขนาดไหน เนื่องจากเพลงเดี่ยวเป็นเพลงสำหรับผู้บรรเลงเพียงคนเดียว ดังนั้นผู้บรรเลงจะต้องมีความแม่นยำในทำนองเพลง ซึ่งจะต้องฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดีก่อนที่จะบรรเลงแต่ละครั้ง
ในการบรรเลงเพลงเดี่ยวนั้น จะบรรเลงตลอดทั้งเพลงหรือแทรกอยู่ในตอนใดตอนหนึ่งของเพลงก็ได้ การบรรเลงเดี่ยวมีความมุ่งหมายอยู่ 2 ประการคือ
1. เพื่อแสดงถึงความสามารถและฝีมือของผู้บรรเลง
2. เพื่อเป็นการอวดทาง คือ ทำนองของเพลงว่าดี คม ไพเราะ เหมาะสม ขนาดไหน เนื่องจากเพลงเดี่ยวเป็นเพลงสำหรับผู้บรรเลงเพียงคนเดียว ดังนั้นผู้บรรเลงจะต้องมีความแม่นยำในทำนองเพลง ซึ่งจะต้องฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดีก่อนที่จะบรรเลงแต่ละครั้ง
v เพลงเรื่อง
คือ
เพลงบรรเลงที่เป็นเพลงชุดโดยการนำเพลงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันหลายๆ
เพลงมาบรรเลงติดต่อกัน เพลงเรื่องไม่มีเนื้อร้อง
ในการเรียกชื่อเพลงเรื่องมีหลักดังนี้เรียกตามชื่อเพลงแรกที่อยู่ในชุด เช่น
เพลงเรื่องสีนวนเรียกตามหน้าทับที่ใช้ตีประกอบจังหวะ เช่น
เพลงเรื่องนางหงส์เรียกตามลักษณะพิธีหรืองานที่ใช้เพลงเรื่องนั้นๆ เช่น เพลงเรื่องทำขวัญ
(ใช้ตอนพิธีทำขวัญนาค) เพลงเรื่องพระฉัน (ใช้ตอนพระฉันอาหาร)
v เพลงหางเครื่อง
คือ
เพลงที่บรรเลงต่อจากเพลงเถาหลังจากที่จบท่อนชั้นเดียวและออกลูกหมดแล้วเป็นการแสดงความสามารถในการบรรเลงเครื่องดนตรีแต่ละชนิด
และแสดงออกถึงความสนุกสนานของผู้บรรเลง ลักษณะของเพลงหางเครื่องโดยทั่วไปมีดังนี้
1.
เป็นเพลงที่มีทำนองรวดเร็วกระฉับกระเฉง ให้ความรู้สึกสนุกสนาน (เป็นเพลงในอัตราจังหวะชั้นเดียว)เป็นเพลงสำเนียงเดียวกับเพลงแม่บท
ซึ่งเป็นเพลงเถาที่บรรเลงนำมาก่อน
v เพลงภาษา
คือ เพลงไทยที่ประพันธ์ขึ้นโดยเลียนสำเนียงเพลงของต่างชาติ
และชื่อขึ้นต้นเพลงจะบ่งบอกถึงเชื้อชาติชาตินั้นๆ เช่น แขกต่อยหม้อ จีนนำเสด็จ
พม่าเห่ มอญรำดาบ ลาวดวงเดือน เขมรไทรโยค ฝรั่งควง ฯลฯ
v เพลงขับร้อง
คือ เพลงที่บรรเลงดนตรีและมีการขับร้องประกอบ
ซึ่งมีหลายประเภทดังต่อไปนี้
v เพลงเถา
คือ เพลงที่บรรเลงด้วยอัตราจังหวะช้า ปานกลาง
และเร็ว โดยต่อเนื่องกัน หรือที่เรียกว่าอัตราจังหวะสามชั้น สองชั้น และชั้นเดียว
ถ้าบรรเลงไม่ครบทั้ง 3 อัตราจังหวะหรือเฉพาะอัตราจังหวะใดจังหวะหนึ่งจะไม่เรียกว่าเพลงเถา
ตามปกติโครงสร้างของเพลงจะเริ่มจากอัตราจังหวะสามชั้น สองชั้น และชั้นเดียวตามลำดับ
(บางครั้งอาจจะเริ่มจากอัตราจังหวะชั้นเดียว สองชั้น
แล้วย้อนกลับไปหาอัตราจังหวะสามชั้น
ซึ่งเป็นกรณีพิเศษเฉพาะการบรรเลงเดี่ยวบทเพลงบางเพลงเท่านั้น)
v เพลงตับ
คือ บทเพลงที่นำเพลงหลายๆเพลงมาบรรเลงและขับร้องติดต่อกันเป็นชุด
ซึ่งเป็นเพลงที่มีระดับเสียงเดียวกัน และส่วนมากเป็นเพลงในอัตราจังหวะสองชั้น
เพลงตับสามารถแบ่งแยกประเภทได้เป็น 2 ประเภทคือ
v1.
ตับเรื่อง ยึดเอาเนื้อเรื่องที่นำมาร้องเป็นหลัก กล่าวคือ
จะต้องเป็นเรื่องราวเดียวกัน
2. ตับเพลง ยึดเอาทำนองเพลงเป็นหลัก กล่าวคือ ทำนองเพลงต่างๆที่นำมาเรียบเรียงนั้นอยู่ในอัตราจังหวะเดียวกัน และจะต้องมีความเหมาะสมกลมกลืนทั้งในเรื่องระดับเสียง ทางขึ้น ทางลง สามารถบรรเลงอย่างกลมกลืนต่อกัน อาจจะเป็นเรื่องราวเดียวกันหรือคนละเรื่องก็ได้ ตัวอย่างตับเพลง ได้แก่ ตับสมิงทอง ตับมอญกละ ตับลมพัดชายเขา เป็นต้น
2. ตับเพลง ยึดเอาทำนองเพลงเป็นหลัก กล่าวคือ ทำนองเพลงต่างๆที่นำมาเรียบเรียงนั้นอยู่ในอัตราจังหวะเดียวกัน และจะต้องมีความเหมาะสมกลมกลืนทั้งในเรื่องระดับเสียง ทางขึ้น ทางลง สามารถบรรเลงอย่างกลมกลืนต่อกัน อาจจะเป็นเรื่องราวเดียวกันหรือคนละเรื่องก็ได้ ตัวอย่างตับเพลง ได้แก่ ตับสมิงทอง ตับมอญกละ ตับลมพัดชายเขา เป็นต้น
v เพลงใหญ่
ลักษณะของเพลงไทยเดิมที่เรียกว่าเป็นเพลงใหญ่ มีข้อสังเกตคือ
ลักษณะของเพลงไทยเดิมที่เรียกว่าเป็นเพลงใหญ่ มีข้อสังเกตคือ
v1.
เป็นเพลงที่ค่อนข้างยาว
ต้องใช้เวลาในการบรรเลงนานมากกว่าเพลงประเภทอื่น
2. เป็นเพลงที่มีทางร้องสั้นแต่ทางรับยาว กล่าวคือ ในการร้องท่อนหนึ่งๆจะใช้เวลาไม่มาก
2. เป็นเพลงที่มีทางร้องสั้นแต่ทางรับยาว กล่าวคือ ในการร้องท่อนหนึ่งๆจะใช้เวลาไม่มาก
แต่นักดนตรีต้องใช้เวลาในการบรรเลงรับนานมากกว่าหลายเท่า
3. ทำนองเพลงสลับซ้อนเต็มไปด้วย ลูกล้อ ลูกขัด และลูกล้วงจังหวะ
3. ทำนองเพลงสลับซ้อนเต็มไปด้วย ลูกล้อ ลูกขัด และลูกล้วงจังหวะ
v เพลงเกร็ด
หมายถึง
เพลงที่นำมาบรรเลงและขับร้องในเวลาสั้นๆ
อาจเป็นเพลงในอัตราจังหวะใดจังหวะหนึ่งก็ได้
หรือเป็นเพลงใดเพลงหนึ่งจากชุดเพลงตับหรือเพลงเรื่องก็ได้ เช่น เพลงเขมรไทรโยค 3
ชั้น เพลงแขกสาหร่าย 2 ชั้น
เพลงนาคราชชั้นเดียว เป็นต้น
v เพลงลา
หมายถึง เพลงที่ใช้บรรเลงและขับร้องในอันดับสุดท้าย
เพื่อเป็นนิมิตหมายว่า
การบรรเลงและขับร้องกำลังจะสิ้นสุดลง
และถือเป็นธรรมเนียมของการร้องส่งสำหรับวงดนตรีไทยประเภทต่างๆว่า
เพลงที่จะบรรเลงและขับร้องในอันดับสุดท้ายจริงๆจะต้องเป็นเพลงลา ทั้งนี้เพื่อเป็นเพลงอำลาอาลัยแก่ผู้ฟัง
การประสมวงดนตรีและโอกาสในการบรรเลง
การประสมวงดนตรีไทยตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ทั้งนี้จะมีรูปแบบแตกต่างกันออกไปตามระเบียบแบบแผนที่ยึดถือกันมาในแต่ละยุคสมัย การประสมวงดนตรีไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีดังนี้
1. การบรรเลงพิณ
2. วงขับไม้
3. วงเครื่องประโคม
4. วงเครื่องกลองแขก
5. วงเครื่องสาย
6. วงปี่พาทย์
7. วงมโหรี
8. วงเบ็ดเตล็ด
การประสมวงดนตรีไทยตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ทั้งนี้จะมีรูปแบบแตกต่างกันออกไปตามระเบียบแบบแผนที่ยึดถือกันมาในแต่ละยุคสมัย การประสมวงดนตรีไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีดังนี้
1. การบรรเลงพิณ
2. วงขับไม้
3. วงเครื่องประโคม
4. วงเครื่องกลองแขก
5. วงเครื่องสาย
6. วงปี่พาทย์
7. วงมโหรี
8. วงเบ็ดเตล็ด
v การบรรเลงพิณ
เป็นการบรรเลงที่มีมาแต่โบราณ มีวัตถุประสงค์เพื่อเกี้ยวพาราสีของหนุ่มที่มีต่อหญิงสาว
ผู้บรรเลงพิณจะขับร้องคลอเสียงพิณที่ดีด โดยจะไม่สวมเสื้อ
เครื่องดนตรีที่ใช้ดีดได้แก่ พิณเพียะ หรือพิณน้ำเต้า (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
v วงขับไม้ นี้ใช้ในพระราชพิธี
และถือกันว่าเป็นของสูงมาแต่โบราณ นักดนตรีล้วนเป็นผู้ชายจำนวน 4
คน โดยเป็นผู้บรรเลงซอสามสาย 1 คน
ไกวบัณเฑาะว์ 1 คน ดีดกระจับปี่ 1 คน
และขับร้องอีก 1คน
v วงเครื่องประโคม มีกำเนิดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
และได้มีการวิวัฒนาการปรับปรุงรูปแบบมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้ยึดถือเป็นแบบแผนอยู่ 2
ประเภทคือ
1. การประโคมแตรและมโหระทึก ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จออก หรือเสด็จพระราชดำเนินที่เป็นขบวนเล็กๆ
2. การประโคมแตรสังข์ กลองชนะ ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินกระบวนพยุหยาตรา งานพระราชพิธีสำคัญๆ ซึ่งมีเครื่องดนตรีประกอบด้วย
1. การประโคมแตรและมโหระทึก ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จออก หรือเสด็จพระราชดำเนินที่เป็นขบวนเล็กๆ
2. การประโคมแตรสังข์ กลองชนะ ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินกระบวนพยุหยาตรา งานพระราชพิธีสำคัญๆ ซึ่งมีเครื่องดนตรีประกอบด้วย
v วงเครื่องกลองแขก
วงเครื่องกลองแขก จำแนกได้เป็น 4 ชนิด คือ
1. วงปี่กลองมลายู ประกอบด้วย ปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 4 ลูก ฆ้องเหม่ง 1 ใบ วงปี่กลองมลายู มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กลองสี่ปี่หนึ่ง” ซึ่งเรียกตามเครื่องดนตรีที่นำมาประสม ใช้สำหรับกระบวนพยุหยาตรา กระบวนแห่ต่าง รวมทั้งแห่พระบรมศพและพระศพเจ้านายอีกด้วย
2. วงบัวลอย ประกอบด้วย ปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 2 ลูก ฆ้องเหม่ง 1 ใบ วงบัวลอยตัดแปลงมาจากวงปี่กลองมลายู ใช้บรรเลงในงานศพทั่วไป บางครั้งจะนำไปประสมกับวงปี่พาทย์นางหงส์ โดยตัดฆ้องเหม่งออกไป
3. วงปี่กลองแขก ประกอบด้วย ปี่ชวา 1 เลา กลองแขก 1 คู่ ฆ้องโหม่ง 1 ใบ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นฉิ่งแทน) วงปี่กลองแขกนี้บางครั้งเรียกว่า วงปี่ชวากลองแขก ใช้บรรเลงประกอบขบวนแห่ต่าง ๆ รวมถึงการต่อสู้ด้วยกระบี่กระบอง และการชกมวยด้วย
4. วงกลองแขกเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย ปี่ชวา 1 เลา กลองแขก 1 คู่ ฆ้องโหม่ง 1 ใบ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นฉิ่งแทน) ซอด้วง 1 คัน ซออู้ 1คัน จะเข้ 1 ตัว และปี่อ้อ 1 เลา วงกลองแขกเครื่องใหญ่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 และพัฒนากลายเป็นวงเครื่องสายปี่ชวา และวงมโหรีไปในที่สุด
1. วงปี่กลองมลายู ประกอบด้วย ปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 4 ลูก ฆ้องเหม่ง 1 ใบ วงปี่กลองมลายู มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กลองสี่ปี่หนึ่ง” ซึ่งเรียกตามเครื่องดนตรีที่นำมาประสม ใช้สำหรับกระบวนพยุหยาตรา กระบวนแห่ต่าง รวมทั้งแห่พระบรมศพและพระศพเจ้านายอีกด้วย
2. วงบัวลอย ประกอบด้วย ปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 2 ลูก ฆ้องเหม่ง 1 ใบ วงบัวลอยตัดแปลงมาจากวงปี่กลองมลายู ใช้บรรเลงในงานศพทั่วไป บางครั้งจะนำไปประสมกับวงปี่พาทย์นางหงส์ โดยตัดฆ้องเหม่งออกไป
3. วงปี่กลองแขก ประกอบด้วย ปี่ชวา 1 เลา กลองแขก 1 คู่ ฆ้องโหม่ง 1 ใบ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นฉิ่งแทน) วงปี่กลองแขกนี้บางครั้งเรียกว่า วงปี่ชวากลองแขก ใช้บรรเลงประกอบขบวนแห่ต่าง ๆ รวมถึงการต่อสู้ด้วยกระบี่กระบอง และการชกมวยด้วย
4. วงกลองแขกเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย ปี่ชวา 1 เลา กลองแขก 1 คู่ ฆ้องโหม่ง 1 ใบ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นฉิ่งแทน) ซอด้วง 1 คัน ซออู้ 1คัน จะเข้ 1 ตัว และปี่อ้อ 1 เลา วงกลองแขกเครื่องใหญ่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 และพัฒนากลายเป็นวงเครื่องสายปี่ชวา และวงมโหรีไปในที่สุด
v วงเครื่องสาย
แบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ดังนี้
1. วงเครื่องสายไทย แบ่งแยกได้เป็น 2 ประเภทคือ วงเครื่องสายเครื่องเล็กหรือเครื่องเดี่ยว และเครื่องคู่
- วงเครื่องสายเครื่องเล็ก หรือเครื่องเดี่ยว ประกอบด้วย ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ขลุ่ยเพียงออ อย่างละหนึ่งชิ้น โทน รำมะนา ฉิ่ง อย่างละหนึ่งคู่ อาจจะมีการเพิ่มฉาบ กรับ โหม่ง หรือเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบสำเนียงในเพลงภาษาอื่นๆ เช่น กลองตุ๊ก แต๋ว ฯลฯ
- วงเครื่องสายเครื่องคู่ ประกอบด้วย ซอด้วง 2 คัน (ใช้บรรเลงทำนองหวาน 1 คัน บรรเลงทางเก็บหรือพลิกแพลง 1 คัน) ซออู้ 2 คัน (ใช้บรรเลงทำนองหลัก 1 คัน บรรเลงพลิกแพลง 1 คัน)
1. วงเครื่องสายไทย แบ่งแยกได้เป็น 2 ประเภทคือ วงเครื่องสายเครื่องเล็กหรือเครื่องเดี่ยว และเครื่องคู่
- วงเครื่องสายเครื่องเล็ก หรือเครื่องเดี่ยว ประกอบด้วย ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ขลุ่ยเพียงออ อย่างละหนึ่งชิ้น โทน รำมะนา ฉิ่ง อย่างละหนึ่งคู่ อาจจะมีการเพิ่มฉาบ กรับ โหม่ง หรือเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบสำเนียงในเพลงภาษาอื่นๆ เช่น กลองตุ๊ก แต๋ว ฯลฯ
- วงเครื่องสายเครื่องคู่ ประกอบด้วย ซอด้วง 2 คัน (ใช้บรรเลงทำนองหวาน 1 คัน บรรเลงทางเก็บหรือพลิกแพลง 1 คัน) ซออู้ 2 คัน (ใช้บรรเลงทำนองหลัก 1 คัน บรรเลงพลิกแพลง 1 คัน)
2. วงเครื่องสายปี่ชวา มีกำเนิดมาจากการประสมเครื่องดนตรีระหว่างเครื่องสายและกลองแขกที่เรียกว่ากลองแขกเครื่องใหญ่
แต่ได้นำเครื่องดนตรีที่มีลักษณะเสียงคล้ายคลึงกันออกไปเช่น ขลุ่ย และโทนรำมะนา
ซึ่งคล้ายกันกับปี่และกลองแขก ดังนั้นวงเครื่องสายปี่ชวาจึงประกอบด้วย ซอด้วง
ซออู้ ปี่ชวา จะเข้ อย่างละหนึ่งเครื่อง กลองแขก ฉิ่ง ฉาบ กรับ อย่างละ 1 คู่ และโหม่ง 1 ใบ
3. วงเครื่องสายประสม เป็นการบรรเลงของเครื่องสายไทยประสมกับเครื่องดนตรีของต่างชาติหรือไม่ก็ประสมกับเครื่องดนตรีที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มของวงเครื่องสาย
เช่น การนำออร์แกนมาบรรเลงกับวงเครื่องสายก็เรียกว่า “วงเครื่องสายประสมออร์แกน”
การนำไวโอลินมาบรรเลงประสมกับวงเครื่องสายก็เรียกว่า “เครื่องสายประสมไวโอลิน” หรือ
การนำซอสามสายมาบรรเลงประสมกับวงเครื่องสายก็เรียกว่า “วงเครื่องสายประสมซอสามสาย” เป็นต้น และในการบรรเลงนั้น
จะนิยมให้เครื่องดนตรีที่นำมาประสมเป็นผู้บรรเลงนำในการขึ้นเพลง
v วงปี่พาทย์
วงปี่พาทย์สามารถแบ่งแยกออกได้เป็น 7
ประเภทดังนี้
1.
วงปี่พาทย์ชาตรี เป็นการประสมวงแบบดั้งเดิมที่สุด ประกอบด้วยปี่นอก 1
เลา ฆ้อง 1 คู่ โทนชาตรี 1 คู่ กลองชาตรี (กลองตุ๊ก) 1 คู่
ฉิ่ง กรับ อย่างละ 1 คู่ วงปี่พาทย์ชาตรีใช้บรรเลงประกอบการแสดงหนังตะลุง
โนราชาตรี เป็นต้น
2. วงปี่พาทย์เครื่องห้า เป็นปี่พาทย์ที่วิวัฒนาการมาจากปี่พาทย์ชาตรี แต่เดิมนั้นวงปี่พาทย์เครื่องห้าใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และหนังใหญ่ ปัจจุบันประกอบด้วยเครื่องดำเนินทำนองและเครื่องกำกับจังหวะดังนี้ คือระนาดเอก 1 ราง กลองทัด 1 คู่ (เดิมใช้ใบเดียว) ฆ้องวงใหญ่ 1 วง ปี่ใน 1 เลา ตะโพน 1 ใบ และฉิ่ง
3. วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เป็นวงปี่พาทย์ที่พัฒนามาจากวงปี่พาทย์เครื่องห้า โดยเป็นลักษณะของการเพิ่มเครื่องดนตรีให้วงดนตรีขยายใหญ่ขึ้น กล่าวคือได้มีการนำเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่เพิ่มเข้าไปในวงปี่พาทย์เครื่องห้าให้คู่กับเครื่องดนตรีที่มีอยู่เดิม คือเพิ่มระนาดทุ้มให้เป็นคู่กับระนาดเอก เพิ่มฆ้องวงเล็กให้เป็นคู่กับฆ้องวงใหญ่ เพิ่มปี่นอกให้เป็นคู่กับปี่ใน ส่วนเครื่องประกอบจังหวะประกอบด้วยกลองทัด 1 คู่ ตะโพน 1 ใบ ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบใหญ่และฉาบเล็กอย่างละ 1 คู่ โหม่ง 1 ใบ กรับ 1 อัน
4. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เป็นวิวัฒนาการขั้นสูงสุดของวงปี่พาทย์ ได้เกิดขึ้นเมื่อมีการประดิษฐ์ระนาดทอง (ระนาดเอกเหล็ก) และระนาดทุ้มเหล็กขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีเหมือนกับวงปี่พาทย์เครื่องคู่ทุกอย่าง แต่จะเพิ่มระนาดทองและระนาดทุ้มเหล็กขึ้น
5. วงปี่พาทย์นางหงส์ เป็นชื่อเรียกตามเพลง “ตับเรื่องนางหงส์” ซึ่งเป็นเพลงประจำวงปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงในงานศพ และจึงเรียกปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงว่าเป็นปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์นี้เป็นการประสมระหว่างปี่พาทย์ไม้แข็งกับวงกลองแขกชนิดที่ใช้กลองมลายูเข้าด้วยกันและได้ตัดปี่นอกซึ่งมีเสียงซ้ำกับปี่ชวาออก ดังนั้นวงปี่พาทย์นางหงส์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 1 คู่ ฉิ่ง
6. วงปี่พาทย์มอญเป็นปี่พาทย์ที่ได้มาจากชาวรามัญโดยตรง ซึ่งมีแพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ในกลุ่มชาวมอญ ชาวมอญนิยมใช้เล่นทั้งงานมงคลและอวมงคล
การประสมวงปี่พาทย์มอญมี 2 แบบ คือ
- ปี่พาทย์มอญเครื่องเล็ก ประกอบด้วย ฆ้องวงใหญ่ (ฆ้องมอญ) เปิงมางคอก ระนาดเอก ตะโพนมอญ (ใหญ่กว่าตะโพนไทย) ปี่มอญ ฉิ่ง
- ปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ ประกอบด้วย ฆ้องวงใหญ่ (ฆ้องมอญ) ฆ้องวงเล็ก (ฆ้องมอญ) (บางครั้งอาจเพิ่มฆ้องกลางขึ้นด้วย) ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก โหม่งมอญ (มี 3 ใบ)
7. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เป็นวงปี่พาทย์ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงคิดขึ้นสำหรับบทเพลงประกอบแสดงละครชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ละครดึกดำบรรพ์” (เป็นละครซึ่งมีตัวละครแสดงประกอบการขับร้องเป็นตับหรือเป็นเรื่องราวใหม่ในชุดสั้นๆ ซึ่งดัดแปลงมาจากโอเปร่า (Opera)
2. วงปี่พาทย์เครื่องห้า เป็นปี่พาทย์ที่วิวัฒนาการมาจากปี่พาทย์ชาตรี แต่เดิมนั้นวงปี่พาทย์เครื่องห้าใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และหนังใหญ่ ปัจจุบันประกอบด้วยเครื่องดำเนินทำนองและเครื่องกำกับจังหวะดังนี้ คือระนาดเอก 1 ราง กลองทัด 1 คู่ (เดิมใช้ใบเดียว) ฆ้องวงใหญ่ 1 วง ปี่ใน 1 เลา ตะโพน 1 ใบ และฉิ่ง
3. วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เป็นวงปี่พาทย์ที่พัฒนามาจากวงปี่พาทย์เครื่องห้า โดยเป็นลักษณะของการเพิ่มเครื่องดนตรีให้วงดนตรีขยายใหญ่ขึ้น กล่าวคือได้มีการนำเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่เพิ่มเข้าไปในวงปี่พาทย์เครื่องห้าให้คู่กับเครื่องดนตรีที่มีอยู่เดิม คือเพิ่มระนาดทุ้มให้เป็นคู่กับระนาดเอก เพิ่มฆ้องวงเล็กให้เป็นคู่กับฆ้องวงใหญ่ เพิ่มปี่นอกให้เป็นคู่กับปี่ใน ส่วนเครื่องประกอบจังหวะประกอบด้วยกลองทัด 1 คู่ ตะโพน 1 ใบ ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบใหญ่และฉาบเล็กอย่างละ 1 คู่ โหม่ง 1 ใบ กรับ 1 อัน
4. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เป็นวิวัฒนาการขั้นสูงสุดของวงปี่พาทย์ ได้เกิดขึ้นเมื่อมีการประดิษฐ์ระนาดทอง (ระนาดเอกเหล็ก) และระนาดทุ้มเหล็กขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีเหมือนกับวงปี่พาทย์เครื่องคู่ทุกอย่าง แต่จะเพิ่มระนาดทองและระนาดทุ้มเหล็กขึ้น
5. วงปี่พาทย์นางหงส์ เป็นชื่อเรียกตามเพลง “ตับเรื่องนางหงส์” ซึ่งเป็นเพลงประจำวงปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงในงานศพ และจึงเรียกปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงว่าเป็นปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์นี้เป็นการประสมระหว่างปี่พาทย์ไม้แข็งกับวงกลองแขกชนิดที่ใช้กลองมลายูเข้าด้วยกันและได้ตัดปี่นอกซึ่งมีเสียงซ้ำกับปี่ชวาออก ดังนั้นวงปี่พาทย์นางหงส์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 1 คู่ ฉิ่ง
6. วงปี่พาทย์มอญเป็นปี่พาทย์ที่ได้มาจากชาวรามัญโดยตรง ซึ่งมีแพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ในกลุ่มชาวมอญ ชาวมอญนิยมใช้เล่นทั้งงานมงคลและอวมงคล
การประสมวงปี่พาทย์มอญมี 2 แบบ คือ
- ปี่พาทย์มอญเครื่องเล็ก ประกอบด้วย ฆ้องวงใหญ่ (ฆ้องมอญ) เปิงมางคอก ระนาดเอก ตะโพนมอญ (ใหญ่กว่าตะโพนไทย) ปี่มอญ ฉิ่ง
- ปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ ประกอบด้วย ฆ้องวงใหญ่ (ฆ้องมอญ) ฆ้องวงเล็ก (ฆ้องมอญ) (บางครั้งอาจเพิ่มฆ้องกลางขึ้นด้วย) ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก โหม่งมอญ (มี 3 ใบ)
7. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เป็นวงปี่พาทย์ที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงคิดขึ้นสำหรับบทเพลงประกอบแสดงละครชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ละครดึกดำบรรพ์” (เป็นละครซึ่งมีตัวละครแสดงประกอบการขับร้องเป็นตับหรือเป็นเรื่องราวใหม่ในชุดสั้นๆ ซึ่งดัดแปลงมาจากโอเปร่า (Opera)
v วงมโหรี
วงมโหรีเป็นการประสมวงที่เกิดจากการนำเอาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและเครื่องดนตรีประเภทปี่พาทย์บางชนิดมาประสมกัน
โดยมีซอสามสายเป็นเครื่องดนตรีหลัก วงมโหรีใช้บรรเลงในงานมงคลต่างๆ เช่น
งานแต่งงาน งานเลี้ยงรับรอง การทำบุญอายุ ขึ้นบ้านใหม่ วงมโหรี แบ่งออกได้เป็น 3
ชนิด คือ
1. วงมโหรีวงเล็ก ประกอบด้วย ซอสามสาย ขลุ่ยเพียงออ ระนาดเอก ฆ้องวง จะเข้ ซออู้ โทน รำมะนา ฉิ่ง และฉาบเล็ก เครื่องดนตรีทั้งหมดนี้ใช้เพียงอย่างละหนึ่งชิ้นเท่านั้น
2. วงมโหรีเครื่องคู่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่บรรเลงทำนองทุกชนิดเป็นคู่ คือ ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ย จะเข้ ระนาด (ระนาดเอกและระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็กอย่างละ 1 คู่) ส่วนเครื่องประกอบจังหวะได้แก่ โทน รำมะนา ฉิ่ง และฉาบ
3. วงมโหรีเครื่องใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่เหมือนกันกับวงมโหรีเครื่องคู่ทุกอย่าง แต่จะเพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กอย่างละ 1 ราง นอกจากนี้เมื่อเป็นวงมโหรีเครื่องใหญ่มักจะเพิ่มขลุ่ยอีก 1 เลา และเพิ่มกรับ ฉาบใหญ่ และโหม่งเข้าไปในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะด้วย
1. วงมโหรีวงเล็ก ประกอบด้วย ซอสามสาย ขลุ่ยเพียงออ ระนาดเอก ฆ้องวง จะเข้ ซออู้ โทน รำมะนา ฉิ่ง และฉาบเล็ก เครื่องดนตรีทั้งหมดนี้ใช้เพียงอย่างละหนึ่งชิ้นเท่านั้น
2. วงมโหรีเครื่องคู่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่บรรเลงทำนองทุกชนิดเป็นคู่ คือ ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ย จะเข้ ระนาด (ระนาดเอกและระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็กอย่างละ 1 คู่) ส่วนเครื่องประกอบจังหวะได้แก่ โทน รำมะนา ฉิ่ง และฉาบ
3. วงมโหรีเครื่องใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่เหมือนกันกับวงมโหรีเครื่องคู่ทุกอย่าง แต่จะเพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กอย่างละ 1 ราง นอกจากนี้เมื่อเป็นวงมโหรีเครื่องใหญ่มักจะเพิ่มขลุ่ยอีก 1 เลา และเพิ่มกรับ ฉาบใหญ่ และโหม่งเข้าไปในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะด้วย
v วงเบ็ดเตล็ด
1. วงแคน
เป็นวงดนตรีพื้นเมืองของชาวอีสาน แบ่งออกเป็นลักษณะต่างๆได้ดังนี้
- แคนวงขนาดเล็ก ประกอบด้วย แคนขนาดใหญ่ 2 เต้า ขนาดกลาง 2 เต้า ขนาดกลาง 2 เต้า ขนาดเล็ก 2 เต้า และมีเครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ ด้วย
- แคนวงขนาดกลาง ประกอบด้วย แคนแปดและแคนสิบ สำหรับแคนแปดประกอบด้วยแคน 8 เต้า ขนาดใหญ่ 2 เต้า ขนาดกลาง 2 เต้า ขนาดเล็ก 3 เต้า ส่วนแคนสิบ ประกอบด้วยแคนใหญ่ 2 เต้า แคนกลาง 4 เต้า แคนเล็ก 4 เต้า และมีเครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ ด้วย
- แคนวงขนาดใหญ่ ประกอบด้วยแคนใหญ่ 4 เต้า แคนกลาง 4 เต้า แคนเล็ก 3 เต้าและมีเครื่องประกอบจังหวะอื่นๆด้วย
2. วงโปงลาง เป็นวงดนตรีพื้นเมืองแถบอีสานเหนือ เกิดขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วยโปงลาง พิณ แคน บรรเลงทำนองหลัก และมีกลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง เป็นเครื่องประกอบจังหวะ
3. วงกลองยาว เป็นวงพื้นเมืองของภาคกลาง ซึ่งใช้บรรเลงประกอบกระบวนแห่ในงานรื่นเริงต่างๆ ประกอบด้วยกลองยาว 1 ลูกเป็นหลัก และมีกลองอีกหลายใบโดยไม่จำกัดจำนวน นอกจากนั้นเป็นเครื่องประกอบจังหวะ
4. วงกันตรึม เป็นวงดนตรีพื้นเมืองแถบภาคอีสานใต้ นิยมเล่นในงานมงคลต่างๆในหมู่ชาวไทยอีสานใต้ที่ใช้ภาษาถิ่นเขมร ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ วงกันตรึมประกอบด้วย โทนกันตรึม 1 คู่ ปี่อ้อ 1 เลา ปี่ชลัยหรือปี่ใน 1 เลา ฉิ่ง 1 คู่ กรับ 1 คู่
5. วงขลุ่ย เกิดจากการนำเอาขลุ่ยขนาดต่างๆมาประสมกัน และมีเครื่องประกอบจังหวะต่างๆ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง กลอง ประกอบในการบรรเลง
6. วงอังกะลุง อังกะลุงเป็นเครื่องดนตรีที่นำมาจากชวา ประเทศอินโดนีเซีย โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้นำเข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2451 ในคราวตามเสด็จสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภานพันธุวงศ์วรเดช และได้นำเพลงชวามาหลายเพลงโดยให้นักดนตรีในวังบูรพาภิรมย์ฝึกบรรเลงเป็นครั้งแรก วงอังกะลุงประกอบด้วยอังกะลุงเป็นหลักโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งมีเสียงครบตามเสียง และมีเครื่องประกอบจังหวะคือ กลองแขก ฉิ่ง ฉาบเล็ก และโหม่ง
7. วงดนตรีประกอบชุดโบราณคดี อาจารย์มนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติทางด้านดนตรีไทย เป็นผู้แต่งเพลงพื้นเมืองประกอบระบำชุดโบราณคดี ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 5 ชุด ดังต่อไปนี้
- ชุดทวารวดี เป็นยุคอิทธิพลของมอญ เครื่องดนตรีหลักประกอบด้วย ระนาด กระจับปี่ จะเข้
- ชุดศรีวิชัย เป็นยุคอิทธิพลของชวา เครื่องดนตรีหลักประกอบด้วย ซอสามสาย กระจับปี่ ขลุ่ย
- ชุดลพบุรี เป็นยุคอิทธิพลของขอม เครื่องดนตรีหลักประกอบด้วย ปี่ใน ซอสามสาย พิณน้ำเต้า
- ชุดเชียงแสน เป็นยุคอิทธิพลของล้านช้างและล้านนา เครื่องดนตรีหลักประกอบด้วย แคน สะล้อ
- ชุดสุโขทัย เป็นยุคไทย เครื่องดนตรีหลักประกอบด้วย ปี่ ซอสามสาย ฆ้องวงใหญ่ กระจับปี่
8. วงสะล้อ เป็นวงดนตรีพื้นเมืองของภาคเหนือ ใช้บรรเลงในงานรื่นเริงต่างๆ เครื่องดนตรีประกอบด้วย สะล้อ ขลุ่ย ซึง และเครื่องประกอบจังหวะ
9. วงกลองแอว เป็นวงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ ใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนรำ เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองแอว ปี่แนใหญ่ ปี่แนเล็ก ตะโล้ดโป้ด (กลอง) ฉิ่ง ฉาบ
10. วงกลองสะบัดชัย เป็นวงดนตรีพื้นเมืองของภาคเหนือ ใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนรำ เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองสะบัดชัย ฆ้องเล็ก ฉิ่ง
11. วงกาหลอ เป็นวงดนตรีพื้นเมืองของภาคใต้ ใช้บรรเลงประโคมงานศพโดยเฉพาะ มีการประสมวงคล้ายกันกับวงบัวลอยของภาคกลาง วงกาหลอประกอบด้วย ปี่กาหลอ 1 เลา กลองวาน 1 คู่
12. วงดนตรีประกอบการเล่นรองเง็ง รองเง็งเป็นศิลปะการเต้นรำของทางภาคใต้ในหมู่ชาวไทยมุสลิม มีลีลาท่าทางงดงาม ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเทศมาเลเซีย เครื่องดนตรีประกอบด้วย รำมะนา ฆ้อง ไวโอลิน
- แคนวงขนาดเล็ก ประกอบด้วย แคนขนาดใหญ่ 2 เต้า ขนาดกลาง 2 เต้า ขนาดกลาง 2 เต้า ขนาดเล็ก 2 เต้า และมีเครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ ด้วย
- แคนวงขนาดกลาง ประกอบด้วย แคนแปดและแคนสิบ สำหรับแคนแปดประกอบด้วยแคน 8 เต้า ขนาดใหญ่ 2 เต้า ขนาดกลาง 2 เต้า ขนาดเล็ก 3 เต้า ส่วนแคนสิบ ประกอบด้วยแคนใหญ่ 2 เต้า แคนกลาง 4 เต้า แคนเล็ก 4 เต้า และมีเครื่องประกอบจังหวะอื่น ๆ ด้วย
- แคนวงขนาดใหญ่ ประกอบด้วยแคนใหญ่ 4 เต้า แคนกลาง 4 เต้า แคนเล็ก 3 เต้าและมีเครื่องประกอบจังหวะอื่นๆด้วย
2. วงโปงลาง เป็นวงดนตรีพื้นเมืองแถบอีสานเหนือ เกิดขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วยโปงลาง พิณ แคน บรรเลงทำนองหลัก และมีกลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง เป็นเครื่องประกอบจังหวะ
3. วงกลองยาว เป็นวงพื้นเมืองของภาคกลาง ซึ่งใช้บรรเลงประกอบกระบวนแห่ในงานรื่นเริงต่างๆ ประกอบด้วยกลองยาว 1 ลูกเป็นหลัก และมีกลองอีกหลายใบโดยไม่จำกัดจำนวน นอกจากนั้นเป็นเครื่องประกอบจังหวะ
4. วงกันตรึม เป็นวงดนตรีพื้นเมืองแถบภาคอีสานใต้ นิยมเล่นในงานมงคลต่างๆในหมู่ชาวไทยอีสานใต้ที่ใช้ภาษาถิ่นเขมร ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ วงกันตรึมประกอบด้วย โทนกันตรึม 1 คู่ ปี่อ้อ 1 เลา ปี่ชลัยหรือปี่ใน 1 เลา ฉิ่ง 1 คู่ กรับ 1 คู่
5. วงขลุ่ย เกิดจากการนำเอาขลุ่ยขนาดต่างๆมาประสมกัน และมีเครื่องประกอบจังหวะต่างๆ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง กลอง ประกอบในการบรรเลง
6. วงอังกะลุง อังกะลุงเป็นเครื่องดนตรีที่นำมาจากชวา ประเทศอินโดนีเซีย โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้นำเข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2451 ในคราวตามเสด็จสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภานพันธุวงศ์วรเดช และได้นำเพลงชวามาหลายเพลงโดยให้นักดนตรีในวังบูรพาภิรมย์ฝึกบรรเลงเป็นครั้งแรก วงอังกะลุงประกอบด้วยอังกะลุงเป็นหลักโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งมีเสียงครบตามเสียง และมีเครื่องประกอบจังหวะคือ กลองแขก ฉิ่ง ฉาบเล็ก และโหม่ง
7. วงดนตรีประกอบชุดโบราณคดี อาจารย์มนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติทางด้านดนตรีไทย เป็นผู้แต่งเพลงพื้นเมืองประกอบระบำชุดโบราณคดี ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 5 ชุด ดังต่อไปนี้
- ชุดทวารวดี เป็นยุคอิทธิพลของมอญ เครื่องดนตรีหลักประกอบด้วย ระนาด กระจับปี่ จะเข้
- ชุดศรีวิชัย เป็นยุคอิทธิพลของชวา เครื่องดนตรีหลักประกอบด้วย ซอสามสาย กระจับปี่ ขลุ่ย
- ชุดลพบุรี เป็นยุคอิทธิพลของขอม เครื่องดนตรีหลักประกอบด้วย ปี่ใน ซอสามสาย พิณน้ำเต้า
- ชุดเชียงแสน เป็นยุคอิทธิพลของล้านช้างและล้านนา เครื่องดนตรีหลักประกอบด้วย แคน สะล้อ
- ชุดสุโขทัย เป็นยุคไทย เครื่องดนตรีหลักประกอบด้วย ปี่ ซอสามสาย ฆ้องวงใหญ่ กระจับปี่
8. วงสะล้อ เป็นวงดนตรีพื้นเมืองของภาคเหนือ ใช้บรรเลงในงานรื่นเริงต่างๆ เครื่องดนตรีประกอบด้วย สะล้อ ขลุ่ย ซึง และเครื่องประกอบจังหวะ
9. วงกลองแอว เป็นวงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ ใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนรำ เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองแอว ปี่แนใหญ่ ปี่แนเล็ก ตะโล้ดโป้ด (กลอง) ฉิ่ง ฉาบ
10. วงกลองสะบัดชัย เป็นวงดนตรีพื้นเมืองของภาคเหนือ ใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนรำ เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองสะบัดชัย ฆ้องเล็ก ฉิ่ง
11. วงกาหลอ เป็นวงดนตรีพื้นเมืองของภาคใต้ ใช้บรรเลงประโคมงานศพโดยเฉพาะ มีการประสมวงคล้ายกันกับวงบัวลอยของภาคกลาง วงกาหลอประกอบด้วย ปี่กาหลอ 1 เลา กลองวาน 1 คู่
12. วงดนตรีประกอบการเล่นรองเง็ง รองเง็งเป็นศิลปะการเต้นรำของทางภาคใต้ในหมู่ชาวไทยมุสลิม มีลีลาท่าทางงดงาม ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเทศมาเลเซีย เครื่องดนตรีประกอบด้วย รำมะนา ฆ้อง ไวโอลิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น